Direct download: 660325_vt2.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

ถ้าเรารู้ความจริงของกายของใจได้ ความทุกข์ในใจจะไม่เกิดขึ้น อย่างพวกเรามีความทุกข์ในใจเยอะแยะเลย อย่างในงานศพ เราพลัดพรากจากคนที่เรารัก การพลัดพรากจากคนที่รักเป็นทุกข์ แต่ถ้าเราภาวนาจนเราชำนาญ เราได้เห็นความจริง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเราเป็นของชั่วคราว เพราะฉะนั้นการที่จะแก่จะเจ็บจะตายอะไร เป็นเรื่องปกติเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมะคือธรรมดา คือเรื่องธรรมดาเองไม่ใช่เรื่องพิสดารอะไร เรื่องเห็นผีเห็นนรกเห็นสวรรค์อะไรมันมีก่อนพระพุทธเจ้า แต่มันไม่ใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์ มันเป็นทางของคนดีเท่านั้นแหละ ใจมันอยากทำบุญทำกุศลกลัวบาปกลัวกรรมเป็นเรื่องดีไม่ใช่ไม่ดี แต่ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆ เราต้องเรียนให้สูงกว่านั้น หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 24 ตุลาคม 2566

Direct download: 661024.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660325_VT1.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เส้นทางที่เราจะต้องเดิน ขั้นแรกก็เตรียมจิตให้พร้อมที่จะเจริญปัญญา จิตที่พร้อมเจริญปัญญา ก็เป็นจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นเป็นจิตที่มีลักขณูปนิชฌาน ส่วนจิตที่เป็นกลาง ตัวนี้จะทำให้จิตมีพลัง เป็นอารัมมณูปนิชฌาน หลวงพ่อถึงบอกว่า “มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง (ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง) การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงคือการเจริญปัญญา สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการเจริญปัญญา คือ สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิก็คือสภาวะที่ตั้งมั่นและเป็นกลางนั้นล่ะ ตั้งมั่นเอาไว้เดินปัญญา เป็นกลางนี้เอาไว้ชาร์จพลังให้จิตมีเรี่ยวมีแรง พอมีจิตตั้งมั่น มีเรี่ยวมีแรงมากพอ เอาไปเดินปัญญา อย่าเฉยๆ อยู่ เดินปัญญาก็คือ พอสติระลึกรู้กาย ไม่ใช่รู้อยู่ที่จิตนิ่งๆ เฉยๆ อย่างนั้น สติระลึกรู้กาย จิตตั้งมั่นและเป็นกลาง จะเห็นไตรลักษณ์ของกาย สติระลึกรู้เวทนา ถ้าจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง จะเห็นไตรลักษณ์ของเวทนา ถ้าจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง สติระลึกรู้สังขาร ปรุงดีปรุงชั่วทั้งหลาย จิตก็จะตั้งมั่น จะเป็นกลาง จะเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ขึ้นมา มันจะอันเดียวกัน ในสติปัฏฐานทั้ง 4 ขอให้มีจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง สติระลึกอะไร อันนั้นแสดงไตรลักษณ์ทั้งหมด เราเห็นไตรลักษณ์นั่นล่ะ ที่หลวงพ่อใช้คำว่า “เห็นตามความเป็นจริง” ความเป็นจริงคือไตรลักษณ์ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 21 ตุลาคม 2566

Direct download: 661021.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660318_VT2__.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เรียนเข้ามาให้ถึงจิตเลยตั้งแต่เริ่มต้น ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งแล้วคอยรู้ทันจิตตัวเอง จิตหลงไปคิดรู้ทัน จิตหลงไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานรู้ทัน ทำกรรมฐานไปขี้เกียจขึ้นมา รู้ทัน ทำกรรมฐานแล้วรู้สึกมีความสุข รู้ทัน คอยรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ ไป ถ้าต้องการความสงบ เวลามีความสุขก็อย่าไปเพลินมาก รู้ยินดีพอใจ จิตเราจะประณีตจะสงบยิ่งกว่าเก่าอีก เวลาที่เราภาวนาจิตสงบนี่จะเป็นระดับของฌาน ในเบื้องต้นจิตจะมีปีติมีความสุข แล้วเราภาวนาไป เราเห็นจิตมีปีติ ปีติดับ จิตมีแต่ความสุข ดูไปอีก ความสุขดับ จิตเป็นอุเบกขา ถ้าจิตยังมีปีติมีความสุขอะไรนี้ เป็นสมาธิขั้นต้นเท่านั้นเอง แต่ถ้าจิตเป็นอุเบกขาคือเป็นกลาง ตั้งมั่นเด่นดวงเป็นกลาง ไม่หลงไปในความยินดี ไม่หลงในความยินร้าย นั่นคือจิตที่มีสมาธิเต็มที่แล้ว ถ้าเราทำได้ขนาดนั้นเวลาเรามาเจริญปัญญา ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์ จะเห็นจิตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เราจะใช้เวลาในการเจริญปัญญาไม่มากหรอก ถ้าเราตัดตรงเข้ามาที่จิตได้ก็เข้ามาที่จิตเลย แต่บางคนเข้าที่จิตตรงๆ ไม่ได้ ก็รู้สึกร่างกายไปก่อน เดินอ้อมหน่อยดีกว่าไม่เดิน หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 20 ตุลาคม 2566

Direct download: 661020.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660318_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

หัดดูในขันธ์ 5 ดูไปเรื่อย ล้วนแต่ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติ ไม่ใช่นั่งคิดเอา นั่งคิดเอาว่าร่างกายไม่ใช่เรา คิดเอาแล้วก็อิ่มอกอิ่มใจว่ากูรู้ธรรมะ มันรู้ด้วยการคิด มันยังไม่ได้เห็นของจริง ต้องลงมือปฏิบัติไปจนเห็นของจริง ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ถ้าเราเห็นด้วยจิตใจที่แท้จริง มันจะไม่กลับมาหลงผิดอีก อย่างคนไหนเป็นพระโสดาบันแล้ว รู้ความจริงแล้ว ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวเรา ไม่มีของเราในขันธ์ 5 ไม่มีตัวเราของเราที่ไหนเลย ไม่มี พระโสดาบันภาวนาไปจนจิตเห็นความจริงอันนี้แล้ว ความรู้อันนี้ฝังลึกเข้าไปในจิตใจ ตายไปแล้วข้ามภพข้ามชาติไปแล้ว ความรู้อันนี้ก็ไม่หายไป มันฝังลงไปในจิตใจ แต่ถ้าเป็นความรู้จากการคิด การอ่าน การฟัง ไม่ทันจะแก่ก็ลืมหมดแล้ว หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 22 ตุลาคม 2566

Direct download: 661022.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660312_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660312_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660311_VT2.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

พอมันปรุงความทุกข์ เราก็เห็นมันทุกข์จริง แต่เวลามันปรุงความสุข อันนี้ดูยาก เราจะรู้สึกว่า ดีนะ มันปรุงสุข หรืออย่างเรานั่งสมาธิแล้วจิตสงบ มันปรุงความสงบขึ้นมา เราก็เห็นว่าสงบดี ฟุ้งซ่านไม่ดี อันนี้สติปัญญาของเรายังไม่แข็งแรงพอ ถ้าสติปัญญาเราแข็งแรงพอ เราก็จะเห็นไม่ว่าปรุงอะไรก็ทุกข์ทั้งนั้น คำว่าปรุงแต่ง สังขาร คำว่าภพ คำว่าการกระทำกรรมของจิต ก็คืออันเดียวกัน เรียกชื่อแตกต่างกันไป พระพุทธเจ้าท่านบอก มีภพเกิดขึ้นคราวใดก็มีทุกข์ทุกที สังขารความปรุงแต่งเกิดขึ้นทีไรก็เป็นทุกข์ทุกที ทีนี้เราอยู่กับความปรุงแต่งจนเคยชิน เราไม่เคยเห็นว่าจิตปรุงแต่ง เรามาหัดให้รู้เท่าทันความปรุงแต่งของจิตดู แล้ววันหนึ่งเราจะเห็น ความปรุงแต่งเกิดขึ้นทีไรความทุกข์เกิดขึ้นทุกที กระทั่งปรุงสุข ปรุงสุขจิตก็มีความกระเพื่อมหวั่นไหวขึ้นมา สั่นสะเทือนขึ้นมา มันก็ทุกข์ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 15 ตุลาคม 2566

Direct download: 661015.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660311_VT1.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

จะล้างความเห็นผิด ลองมาดูความจริงของร่างกายตัวเอง ดูความจริงของจิตใจตัวเอง ไม่ต้องไปดูข้างนอก เพราะข้างนอกใครๆ มันก็รู้ว่าไม่ใช่เรา ความหลงผิดมันอยู่ที่ว่า กายนี้คือเรา จิตใจนี้คือเรา เพราะฉะนั้นเราต้องดูเข้ามาตัวนี้ให้ได้ ถ้าล้างความเห็นผิดได้ว่ากายนี้เป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ เป็นสมบัติของโลก ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา เห็นจิตใจ ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายและก็จิตใจ ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เหมือนความฝัน ความสุขเกิดขึ้นก็เหมือนฝัน ความทุกข์เกิดขึ้นก็เหมือนฝัน กุศลอกุศลเกิดขึ้น มันก็เหมือนเราฝันอยู่ ฝันว่าโลภ ว่าโกรธ ว่าหลง ดูเรื่อยๆ มันจะถอนความเห็นผิดว่าจิตใจเป็นตัวเรา เพราะเราจะเห็นจิตใจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่เที่ยง เดี๋ยวจิตใจก็สุข เดี๋ยวจิตใจก็ทุกข์ เดี๋ยวจิตใจเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เดี๋ยวจิตใจก็เป็นกุศล เดี๋ยวก็เป็นอกุศล อย่างนี้ เราเห็นว่ามันไม่เที่ยงหรอก แล้วก็เห็น แต่ละอย่างเราบังคับมันไม่ได้ เป็นของถูกรู้ถูกดู เมื่อมันเป็นของถูกรู้ถูกดู มันก็เหมือนเราเห็นคนอื่น อย่างเราเห็นร่างกายเราเป็นของถูกรู้ถูกดู มันก็เหมือนร่างกายของคนอื่น เห็นความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ก็เป็นของถูกรู้ถูกดู มันก็เหมือนความรู้สึกของคนอื่น มันไม่มีตัวเราตรงไหนเลย ทั้งในกายทั้งในใจนี้ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 14 ตุลาคม 2566

Direct download: 661014.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

พอได้หลักไหม หลักของสมถะว่าอย่างไร ตอบได้ไหม น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง สงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง เราแค่น้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข แต่อย่างถ้าเราไปเพ่ง เราไม่ใช่แค่ระลึกถึงอารมณ์ น้อมจิตไป แต่เอาจิตไปเพ่ง ไม่มีความสุขหรอก จะเครียดทันทีเลย จิตก็แน่นๆ บางทีเพ่งร่างกายคอเคล็ดไปเลย นั่นไม่ได้มีความสุขหรอก ถ้าไม่มีความสุข สมาธิไม่เกิดหรอก เพราะความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ ค่อยๆ ฝึก ถ้าจะทำสมถะ จะให้จิตได้พักผ่อน จะให้จิตมีเรี่ยวมีแรง เราก็ดูเราอยู่กับอารมณ์กรรมฐานอะไรแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์อันนั้นล่ะ สงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง แต่ระลึกถึงอารมณ์อันนั้นไป ให้จิตใจเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์อันนั้นไป เดี๋ยวเดียวจิตก็จะสงบตั้งมั่น มีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาได้ ค่อยๆ ฝึก หรือถ้าจะทำวิปัสสนาให้จิตรู้ความจริง เพื่อจะได้ปล่อยวางได้ ก็หลักมีนิดเดียวนั่นล่ะ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง (ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง) ไม่หนีหลักนี้หรอก ใช้วิธีไหนก็เหมือนกัน หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 8 ตุลาคม 2566

Direct download: 661008.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ถ้าเราฝึกสมาธิที่ลืมเนื้อลืมตัว เราก็จะออกข้างนอก เคลิ้มไปบ้าง ลืมตัวเอง ก็เคลิ้มๆ เหมือนกับนอนหลับ หรือจิตมีนิมิตหลอนไปอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ถ้าเรามีความรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ หายใจเข้ารู้สึก หายใจออกรู้สึก ไม่ต้องไปตามลมอะไรหรอก ลมสั้น ลมยาว อยู่ที่จมูก มันก็รู้แล้ว จุดสำคัญคือทำไปด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว มีสติไว้ แล้วเวลาจิตมันรวม มันก็จะรวมลงไปด้วยความมีสติ กระทั่งโลกธาตุดับ ร่างกายหายไป ร่างกายกับโลกนี้จะหายไปพร้อมๆ กัน แล้วก็จิตไปอยู่ในความว่างๆ ก็ยังมีสติ ไม่ขาดสติตลอดสายของการปฏิบัติ นี่วิธีฝึก ฉะนั้นความรู้สึกตัวเป็นเรื่องสำคัญ จะทำความสงบ ก็ต้องสงบแบบมีสติ ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ถ้าจะเจริญปัญญา ก็ต้องไม่ลืมเนื้อลืมตัว ต้องรู้ตัวไว้ รู้สึก รู้ถึงความมีอยู่ของกายของใจตัวเอง อย่างเวลาเรานั่งสมาธิ บางทีร่างกายหายไป เหลือแต่จิตดวงเดียว ไม่คิดไม่นึกอะไร อันนั้นเอาไว้พักผ่อน ไม่ได้เดินปัญญา เดินปัญญา เรามีจิตที่ตั้งมั่นรู้เนื้อรู้ตัวแล้ว ให้จิตมันทำงานไป อย่าไปให้จิตติดนิ่งติดว่างอยู่ ให้จิตมันทำงานไปตามธรรมชาติ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 30 กันยายน 2566

Direct download: 660930.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 8:30pm +07

Direct download: 660306_VT_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660305_VQ1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 12:00pm +07

Direct download: 660305_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660305_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660304_VQ.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660304_VQ.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660304_VT2.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660304_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เราค่อยๆ ภาวนาจนกระทั่ง จุดแรกก็คือละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ ถัดจากนั้นก็ฝึกปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดความยึดถือในตัวในตน ทีแรกละความเห็นผิด ต่อไปก็ละความยึดถือได้ คนละชั้นกัน ละความเห็นผิดได้ก็เป็นพระโสดาบัน ละความยึดถือในกายได้ก็เป็นพระอนาคามี ละความยึดถือในจิตได้ก็เป็นพระอรหันต์ ที่สุดแห่งทุกข์ก็อยู่ตรงนั้น หมดความยึดถือกาย หมดความยึดถือจิต เพราะเห็นแจ้งแล้ว กายคือตัวทุกข์ จิตคือตัวทุกข์ ก่อนจะถึงจุดนั้น มันจะเห็นว่ากายเป็นที่ตั้งของความทุกข์ จิตเป็นที่ตั้งของความทุกข์ อย่างพระโสดาบัน พระสกทาคามี จะเห็นกายเป็นที่ตั้งของความทุกข์ จิตเป็นที่ตั้งของความทุกข์ พระอนาคามีเห็นกายคือตัวทุกข์ แต่จิตยังเป็นที่ตั้งของความทุกข์อยู่ ภาวนาถึงสุดขีดถึงจะรู้ว่าจิตเองก็คือตัวทุกข์ ความรู้ของธรรมะมันก็ลึกล้ำไปเป็นลำดับๆ ไม่ต้องตกใจ ค่อยๆ เรียนไปตามลำดับนี้ล่ะ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 7 ตุลาคม 2566

Direct download: 661007.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

1 « Previous 1 2 3 4 5 6 7 Next » 89