Mon, 22 July 2024
|
Mon, 22 July 2024
|
Mon, 22 July 2024
การภาวนามีหลากหลาย จริตนิสัยคน พื้นฐานดั้งเดิมมันไม่เหมือนกันแต่ละคน วิธีปฏิบัติของแต่ละคนจะใช้อารมณ์กรรมฐานอะไร จะใช้วิธีแบบไหน ก็แล้วแต่ แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่จําเป็นต้องเลียนแบบกัน หัดเลือก ไม่จําเป็นต้องเอาอย่างกัน แต่มีปัญญาวิเคราะห์ตัวเอง อะไรที่เหมาะกับเรา ปัญญาที่วิเคราะห์ตัวเองออก ตัวนี้เรียกว่าสัมปชัญญะ ไปสํารวจตัวเองว่าเราควรจะภาวนาแค่ไหน ตอนนี้ควรจะทำความสงบ หรือควรจะฝึกความตั้งมั่น หรือควรเจริญปัญญา ดูตัวเอง สํารวจใจ วันไหนฟุ้งซ่านมากทำความสงบ วันไหนจิตมีกําลังพอ รู้ทันจิตที่ไหลไปมา จิตก็ตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วก็เจริญปัญญา จะเจริญด้วยการดูกาย ดูเวทนา หรือดูจิต ดูธรรมก็ได้ แล้วแต่จริตนิสัย จะเจริญปัญญาในสมาธิก็ได้ เข้าสมาธิแล้วออกมาเจริญปัญญาก็ได้ เจริญปัญญาด้วยจิตที่ตั้งมั่น แล้วมันเกิดอัปปนาสมาธิเข้าฌานทีหลัง ลีลาแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่มีกรรมฐานอะไรดีกว่ากรรมฐานอะไร แต่เราต้องมีปัญญามีสัมปชัญญะรู้ว่ากรรมฐานอะไรที่เหมาะกับเรา ไปดูตัวเอง ช่วยตัวเอง สํารวจตัวเอง หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 23 มิถุนายน 2567 |
Fri, 19 July 2024
|
Fri, 19 July 2024
|
Thu, 18 July 2024
|
Thu, 18 July 2024
|
Wed, 17 July 2024
|
Wed, 17 July 2024
|
Tue, 16 July 2024
|
Tue, 16 July 2024
|
Mon, 15 July 2024
|
Mon, 15 July 2024
เวลาภาวนา เราจะพบความแตกต่างของคน 2 จำพวก พวกหนึ่งภาวนาด้วยตัณหา พวกนี้จะคิดอย่างเดียวว่าเมื่อไรจะจบ เมื่อไรจะสำเร็จ เมื่อไรจะได้มรรคผลสักที พอทำไปนานๆ แล้วไม่ได้ มันจะได้ได้อย่างไร เพราะเราทำเหตุของทุกข์ มันจะไปพ้นทุกข์ได้อย่างไร อยากพ้นทุกข์ก็ต้องทำเหตุของความพ้นทุกข์ คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ก็ต้องทำเหตุให้ถูก ผลก็จะถูก พอเราเริ่มด้วยอยากๆ อยากบรรลุเร็วๆ อยากเห็นผลเร็วๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความดิ้นรนของจิต พยายามจะทำอย่างนั้น พยายามจะทำอย่างนี้ สิ่งที่ได้คืออะไร ได้ทุกข์ ยิ่งพยายามมากยิ่งทุกข์มาก หลวงพ่อเคยพูดเรื่อยๆ บางคนนึกว่าหลวงพ่อพูดเล่น หลวงพ่อบอก “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความล้มเหลวอยู่ที่นั่น” เพราะว่าความพยายามตัวนี้ มันเป็นความพยายามที่เจือด้วยตัณหา เจือด้วยโลภะ มันมีความพยายามอีกอย่าง ความอยาก ความอยากมันมี 2 อย่าง อันหนึ่งอยากได้มา อยากรักษาไว้ อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ อันนี้คือตัณหา อีกอันหนึ่งคือฉันทะ ถ้าเราภาวนาด้วยตัณหา เราอยากได้ผล ถ้าเรามีฉันทะ เรามีความพึงพอใจที่จะทำเหตุ ถ้าเรามีฉันทะ เราพอใจที่จะทำเหตุ ไม่ใช่แสวงหาผล ถ้าอยากได้ผล เป็นตัณหา ถ้าอยากทำเหตุที่ดีที่ถูกต้อง อันนี้เรียกว่าฉันทะ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 22 มิถุนายน 2567 |
Tue, 9 July 2024
|
Tue, 9 July 2024
|
Tue, 9 July 2024
ฝึกจิตให้ตั้งมั่น สติระลึกรู้อะไรก็เห็นทุกข์ เห็นไตรลักษณ์ของมันไป พอเห็นแล้วใจมันจะคลายออกจากโลก ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลให้เข้าถึงโลกุตตระได้ จิตบรรลุเองเมื่อปัญญาแก่รอบ ปัญญามันเห็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะถูกบีบคั้น ทุกข์เพราะไม่อยู่ในอำนาจบังคับ ตรงที่เห็นไตรลักษณ์นั่นล่ะ เรียกว่าเราเห็นทุกข์แล้ว หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 20 มิถุนายน 2567 |
Mon, 8 July 2024
|
Mon, 8 July 2024
เราจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันความผิดพลาดของตัวเองขึ้นมา คือการศึกษาพระพุทธศาสนา การศึกษาศาสนาพุทธมีบทเรียน 3 บท ที่เรียกว่าไตรสิกขา เราจะต้องศึกษาว่าทำอย่างไรเราจะมีศีล เพราะศีลเป็นเครื่องมือข่มกิเลส ไม่ให้มีอำนาจเหนือจิตใจ ไม่ให้กิเลสบงการจิตใจเราได้ ศีลที่ดีมากๆ เลยสำหรับนักปฏิบัติชื่ออินทรียสังวรศีล อินทรียสังวรศีลก็คือการมีสติรักษาจิตของเรานั่นล่ะ เวลาที่เราภาวนาจริงๆ กิเลสเกิดมาแล้วเรามีสติรู้ทัน กิเลสดับอัตโนมัติเลย นี่คือบทเรียนที่หนึ่ง ทำอย่างไรจิตใจเราจะเป็นปกติ ศีลคือความเป็นปกติของจิตใจ ไม่ถูกกิเลสชั่วหยาบบงการ ศีลในขั้นต้นอาจจะมี 5 ข้อ 8 ข้อ 10 ข้อ แต่ศีลสำหรับนักปฏิบัติมีข้อเดียว มีอินทรียสังวรศีล เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจกระทบอารมณ์แล้ว จิตใจเราเกิดอะไรขึ้น เรามีสติรู้ทัน บทเรียนที่สอง ชื่อ “อธิจิตตสิกขา” ขั้นที่เราจะพัฒนาจิตตสิกขานี่ จะทำให้จิตเรามีกำลัง กิเลสแผ้วพานไม่ได้ในขณะที่จิตเรามีกำลัง ถ้าเราเรียนรู้จิตใจตัวเองแล้ว สิ่งที่เราได้มาคือสมาธิที่ดี สมาธิที่ถูกต้อง บทเรียนสุดท้ายชื่อปัญญาสิกขา “อธิปัญญาสิกขา” เรียนรู้ให้เห็นความจริงของรูปนามกายใจ ว่ารูปนามกายใจนี้เป็นไตรลักษณ์ เพราะเห็นตามความเป็นจริงจะเบื่อหน่าย คลายความยึดถือแล้วหลุดพ้น หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 16 มิถุนายน 2567 |
Fri, 5 July 2024
ไปหัดอ่านจิตตัวเอง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์เหมือนคนทั่วไป กระทบแล้วก็เกิดความรู้สึกเหมือนคนทั่วๆ ไป ที่ต่างกับคนทั่วไป คือความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น จิตใจเราเป็นอย่างไร รู้เข้ามาตรงนี้ แค่นี้ล่ะ ที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา ตรงนี้ล่ะเป็นธรรมะข้ามโลก ไม่อย่างนั้นมันก็หลงอยู่กับโลก หลงอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสอะไรเพลินๆ ไปวันๆ อยู่ไปจนแก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตาย ตายแล้วก็กลับมาเกิดอีก วนเวียนไม่รู้จักจบจักสิ้น หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 15 มิถุนายน 2567 |
Thu, 4 July 2024
|
Thu, 4 July 2024
|
Thu, 4 July 2024
การภาวนาก็เหมือนซักผ้า ระหว่างการทำผ้าให้สกปรกกับการทำผ้าให้สะอาด อันไหนมันยากกว่ากัน สกปรกง่าย แต่พอสกปรกแล้วจะทำให้สะอาด ก็ยากแล้ว แต่ถ้าเราอดทน เรามีผ้า เราก็ซักให้ดี เวลาจะใช้ก็ระมัดระวังไม่ให้มันเปื้อน ผ้ามันก็ดูไม่สกปรกมาก การภาวนาก็เหมือนกัน ถ้าเราซักฟอกจิตใจเราด้วยสติด้วยปัญญา ขณะเดียวกันเราก็ไม่ไปทำผิดศีล ให้มันปนเปื้อนความสกปรกเข้ามาอีก ถ้าเราไม่รักษาศีล เหมือนเราทำผ้าให้สกปรกตลอดเวลา พอถึงเวลาจะมานั่งสมาธิมาเดินจงกรมอะไรอย่างนี้ มันสู้กันไม่ไหว ทำสกปรกวันหนึ่ง 10 กว่าชั่วโมง มาปฏิบัติชั่วโมงหนึ่งแล้วก็บ่นเมื่อไรจะบรรลุมรรคผล มันเทียบกันไม่ได้ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 9 มิถุนายน 2567 |
Wed, 3 July 2024
|
Wed, 3 July 2024
|
Wed, 3 July 2024
ถ้าภาวนาไปเรื่อยๆ จิตรวมวูบหมดความรู้สึก อาจารย์บอกได้โสดาบัน วูบครั้งที่สองได้สกทาคามี ครั้งที่สามได้อนาคามี ครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์อะไรอย่างนี้ ถ้าเขาพยากรณ์อย่างนี้ เราก็ต้องเทียบกับตำรา บอกว่าได้โสดาบัน พระโสดาบันมีคุณสมบัติอะไร ก็ต้องละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ต้องมีศีลอันงาม ไม่มีความด่างพร้อย เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ไม่มีสรณะอื่น นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณสมบัติที่ดีของพระโสดาบัน เรามาวัดใจตัวเองเลย มีไม่มี ถ้าจิตรวมวูบไปแล้วก็ เวลาคิด เวลานึก เวลาเผลอ ยังมีเราอยู่ มีเราซ่อนอยู่ มันก็ยังไม่ขาดจริง มันขาดด้วยกำลังสมาธิ แต่ไม่ได้ขาดด้วยกำลังของมรรค เวลามีสมาธิขึ้นมา ตัวตนไม่มีก็ได้ เพราะความเป็นตัวตนไม่ได้เกิดตลอดเวลา มันเกิดเป็นคราวๆ เหมือนกิเลสตัวอื่นนั่นล่ะ เพราะฉะนั้นเวลาภาวนาจิตสงบลงไป แล้วบอกไม่มีตัวตน ตอนนั้นไม่มี ออกจากสมาธิมาก็มี เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะวัดกิเลสว่าบรรลุชั้นไหนๆ ให้วัดในสภาวะที่จิตเป็นปกติของมนุษย์ธรรมดาๆ นี้ อย่าไปวัดในขณะจิตทรงฌานอยู่ อย่างถ้าเข้าไปถึงอากิญจัญญายตนะ ไม่ยึดทั้งจิต ไม่ยึดทั้งอารมณ์ ทรง มันทรงสภาพคล้ายกับนิพพานมากเลย สภาวะ แล้วก็บอกว่าเข้าถึงพระนิพพานแล้ว พอถอยออกมาก็กิเลสเหมือนเดิม พอออกมาอยู่กับโลกข้างนอกนี่ กิเลสมันก็แสดงตัวขึ้นมา หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 8 มิถุนายน 2567 |