Direct download: 670408.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661119_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 661119_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 8:00am +07

ไม่ว่าจะทำกรรมฐานอะไร สิ่งสำคัญที่สุดคือความรู้สึกตัว เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่าความรู้สึกตัว เป็นจุดตั้งต้นของการปฏิบัติ ที่จะล้างอาสวกิเลสทั้งหลายได้ ถ้าปราศจากความรู้สึกตัว โอกาสยากมากที่จะสู้กิเลสได้ ก็หลงทั้งวัน มันก็กลายเป็นเครื่องมือของกิเลสทั้งวัน หลงตลอดเวลา โมหะเอาไปกินเอาไปครอบงำไว้ทั้งวัน ไม่เคยรู้สึกตัว พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าท่านไม่เห็นธรรมะใดสำคัญเท่ากับความรู้สึกตัว ธรรมะที่เป็นไปเพื่อจะลดละกิเลส เพื่อจะพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะฉะนั้นความรู้สึกตัวเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นเราทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง ทำไปด้วยความรู้สึกตัว ถ้าอานาปานสติหายใจออก รู้สึกตัว หายใจเข้า รู้สึกตัว ถ้าดูอิริยาบท 4 ยืน รู้สึกตัว นั่ง รู้สึกตัว เดิน รู้สึกตัว นอน รู้สึกตัว ทำสัมปชัญญบรรพ เคลื่อนไหว รู้สึก หยุดนิ่ง รู้สึก เน้นตรงที่รู้สึก แล้วการที่เรารู้สึกอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากความรู้สึกตัวแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือความสงบ คือสมาธิ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราทำกรรมฐานโดยเน้นที่ความรู้สึกตัว เราจะได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 7 เมษายน 2567

Direct download: 670407.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661118_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 661118_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 8:00am +07

มันไม่มีอะไรที่แน่นอนสักอย่างเดียวเลย เพราะฉะนั้นความดีใดๆ ก็ตาม จะเป็นทาน เป็นศีล เป็นภาวนา ความดีใดๆ ก็ตาม มีโอกาสทำให้รีบทำ อย่าเอาไว้ก่อนเอาไว้ก่อนเอาไว้ก่อน แล้วไม่ได้ทำ แล้วเราจะเสียใจทีหลัง ไม่ว่าชีวิตจะดีหรือจะเลว สุดท้ายเราก็อยู่ในโลกนี้ชั่วคราวเท่านั้นล่ะ จากไปโดยมีสมบัติติดตัวไปหรือว่าไม่มี จะต้องรอรับส่วนบุญของคนอื่น เราทำเอาเองได้ทั้งนั้น มางานศพทั้งที คนตายเขาได้แสดงธรรมะให้เราดู ว่าเกิดแล้วตายแน่นอน พวกเรายังไม่ทันจะตาย เรามาฟังธรรมะเพื่อเตรียมตัวตายอย่างมีศักดิ์ศรี เตรียมตัวตายอย่างคนมีปัญญา แบบลูกศิษย์มีครู ไม่ใช่ตายแบบอนาถา ตายแล้วก็ต้องมาวิ่งตะกาย ขอให้คนแผ่ส่วนบุญให้ หวังพึ่งอะไรอย่างนั้น พวกผีพวกเปรต อายุมันยืนกว่าคน สมมุติว่าเราไปเป็นเปรต ลูกหลานเราทำบุญให้เรา เหลนเราตายแล้ว เรายังไม่ตายเลย ไม่มีใครทำบุญให้แล้ว ต่อไปก็เป็นผีไร้ญาติจนได้ พูดง่ายๆ อายุยืนกว่ามนุษย์ เพราะฉะนั้นทำไว้ด้วยตัวเองปลอดภัยที่สุด หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์โสธรธรรมนิมิต 6 เมษายน 2567

Direct download: 670406B.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661112_VT2__6.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 661112_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 8:00am +07

ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์สอนให้ดูกายก่อน เพราะมันดูง่าย มันเป็นของหยาบ ร่างกายไม่เคยหนีไปไหนเลย มีแต่จิตเราหนีไปจากร่างกาย พอเรารู้ความจริงของร่างกาย มันเป็นของไม่เที่ยง มันถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา มันบังคับควบคุมอะไรไม่ได้ มันเป็นแค่วัตถุ เป็นแค่ก้อนธาตุที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง พอใจมันเห็นความจริง ใจมันก็จะหมดความยึดถือในร่างกาย ในส่วนนามธรรมเราก็ดูไป ค่อยๆ แยกสภาวธรรม ให้มันละเอียดขึ้น เราจะเห็นว่าจิตนั้นก็เป็นสภาวะอันหนึ่ง ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่สุขไม่ทุกข์โดยตัวของมันเอง มันดีมันชั่ว มันสุขมันทุกข์ เพราะมีธรรมะอย่างอื่น มีขันธ์อย่างอื่น นามขันธ์อันอื่นที่ไม่ใช่จิตเข้ามาปรุงแต่ง ความสุขมาปรุงแต่งขึ้นมา มันก็เป็นเราสุข ความทุกข์ปรุงแต่งก็เป็นเราทุกข์ ความดีปรุงแต่งก็เป็นเราดี ความโลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นมา เราโลภ เราโกรธ เราหลง กลายเป็นเราทุกทีไป ถ้าหัดแยกได้ เราก็จะเห็นเวลาความสุขเกิดขึ้น เราจะเห็นว่าจิตก็เป็นอันหนึ่ง ความสุขก็เป็นอันหนึ่ง ความสุขกับจิตเป็นสภาวธรรมคนละชนิดกัน เกิดด้วยกัน แต่ว่ามันเป็นคนละอย่างกัน ความสุขทั้งหลายล้วนแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ จิตที่ไปรู้ความสุขเข้า ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้เหมือนกัน หัดดูอย่างนี้เรื่อยๆ ไป แล้วต่อไปพอจิตใจเราประณีตมากขึ้น เราจะเห็นว่ากระทั่งตัวจิตเองก็เกิดดับ จิตไม่ได้มีดวงเดียว จิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายก็คือไม่ว่าจะเห็นจิตผู้รู้เป็นอนิจจัง หรือทุกขัง หรืออนัตตา สุดท้ายก็คือปล่อยวางจิต ปล่อยวางจิตได้ก็ปล่อยวางขันธ์ทั้งหมดได้ ปล่อยวางขันธ์ทั้งหมดได้ ก็ปล่อยโลกทั้งหมดได้ ก็ไม่ยึดถือสิ่งใดในโลกอีกแล้ว จิตก็พ้นจากความทุกข์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 31 มีนาคม 2567

Direct download: 670331.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ถ้าลงเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ดูซ้ำๆๆ ไปเรื่อยๆ ไม่เฉพาะโสดาบันที่จะได้ ที่สุดแห่งทุกข์ก็มา เพราะการเห็นขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์นั่นล่ะ ตอนที่พระพุทธเจ้าสอนปัญจวัคคีย์ ท่านสอนอนัตตลักขณสูตร ท่านสอนรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญจวัคคีย์พิจารณาแล้วเห็นตาม ไม่ใช่คิด ท่านเห็น ต้องเห็นสภาวะ แล้วปัญจวัคคีย์ก็รู้แจ้งแทงตลอด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือสิ่งที่เคยว่าเป็นเราๆ จริงๆ แล้วไม่ใช่เรา ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ท่านหมดความยึดถือในรูปนามขันธ์ 5 นี้ก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์ บรรลุพระอรหันต์ไป การที่เราเห็นขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี่ล่ะ เป็นทางที่จะทำให้เราบรรลุมรรคผลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป อย่างเราเห็นใจเดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็ไม่โกรธ ปิ๊งขึ้นมารู้เลย จิตก็ไม่ใช่เรา จิตไม่ใช่เรา มันจะรู้ขันธ์ทั้งหมดไม่ใช่เรา มันจะรู้แจ้งลงไป ตัวเราไม่มี ปัญญาเบื้องต้นตัวเราไม่มี เป็นปัญญาของพระโสดาบัน แต่สุดท้ายเห็นแจ้งทะลุลงไปอีก ขันธ์ 5 ทั้งหมดไม่ใช่แค่ว่าไม่ใช่ตัวเรา เอาเข้าจริงๆ มันคือตัวทุกข์ มันทุกข์เพราะมันไม่เที่ยง มันทุกข์เพราะมันถูกบีบคั้นให้แตกสลาย มันทุกข์เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจบังคับ อันนี้เรียกว่าทุกขสัจ ทุกขสัจจะ เห็นทุกขสัจแจ่มแจ้งก็คือพระอรหันต์ เพราะทันทีที่เห็นทุกขสัจแจ่มแจ้ง สมุทัยก็ถูกละอัตโนมัติเลย สัจจะอันที่สองคือสมุทัยดับทันที สัจจะอันที่สามคือนิโรธ คือนิพพาน ปรากฏขึ้นทันที ทันทีที่จิตสิ้นตัณหา จิตสิ้นตัณหาเพราะจิตรู้แจ้งในกองทุกข์ พอรู้แจ้งในกองทุกข์ก็สิ้นตัณหา พอสิ้นตัณหาก็สัมผัสพระนิพพานเลย พระนิพพานคือสภาวะที่สิ้นตัณหา และขณะนั้นคือขณะแห่งอริยมรรค หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 6 เมยายน 2567

Direct download: 670406A.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661111_VT2___.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 661111_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 8:00am +07

คนทั้งหลายตลอดชีวิตวิ่งหาแต่ความสุข ใครๆ ก็อยากได้ความสุข ความสุขที่เขารู้จักนั้น ถ้าเป็นภาษาพระก็เป็นกามสุข เป็นสุขที่คลุกคลี ต้องไปเกี่ยวข้องกับคนอื่น ความสุขที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น มันไม่สุขจริง ก็คนมันวุ่นวาย มันกระทบกระทั่งกันตลอด ในโลกน่าสงสาร วิ่งหาความสุข แต่ไม่รู้ว่าความสุขที่ลึกซึ้ง ที่ประณีต คือความสงบ ความสุขอย่างโลกๆ มันไม่สงบ มีแต่ฟุ้งซ่าน มีแต่ทำให้เสพติด ความสุขที่เกิดจากความสงบ มันเริ่มตั้งแต่การทำสมาธิ สมาธิมันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการปฏิบัติ พอใจมันเริ่มสงบมันมีความสุข มันไม่ต้องยุ่งวุ่นวายอะไรกับใคร จิตที่มันสงบแนบอยู่ในอารมณ์อันเดียว ตรงนี้ก็มีความสุขแล้ว แล้วถ้าจิตมันรู้ว่า มันไหลไปอยู่ที่อารมณ์ แล้วมันตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา มันได้สมาธิอีกชนิดหนึ่ง ก็มีความสุขอีกแบบหนึ่ง ไม่เหมือนกัน พยายามฝึกนะ แล้วเราจะได้ความสุขที่ประณีตมากขึ้น ความสุขของสมาธิชนิดสงบ มันความสุขของเด็กๆ ได้ของเล่นที่พอใจแล้วก็ไม่ไปซนที่อื่น ความสุขของจิตที่ตั้งมั่น เป็นความสุขแบบผู้ใหญ่ พร้อมที่จะรับสถานการณ์ทั้งหลายทั้งปวง ด้วยจิตที่เข้มแข็ง อะไรก็ได้ที่ผ่านมา จิตมันตั้งมั่นเป็นคนเห็นเท่านั้นเอง ไม่อิน นี่ก็เป็นความสุขของสมาธิ 2 ชนิด ความสุขที่ประณีตขึ้นไปอีก คือความสุขจากการเจริญปัญญา เราเกิดความรู้ความเข้าใจ จิตใจมันอิ่มเอิบ มีปัญญา แล้วก็ถัดจากนั้น ถ้ามันเกิดอริยมรรค เกิดอริยผล มันมีความสุขยกระดับขึ้นไปอีก เวลาที่เกิดอริยมรรคแล้ว ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จิตใจมันมีความมั่นคง มันมีความมั่นคง มันรู้ว่าการเดินทางถัดจากนี้ ในสังสารวัฏที่เหลือนี้ไม่ตกต่ำ พอ 4 ครั้งแล้วอาสวะมันจะถูกพรากออกไป แยกออกไป จิตมันจะแยกออกจากขันธ์เด็ดขาด ขันธ์นั้นคือตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นจิตพ้นขันธ์ก็คือจิตพ้นทุกข์ ก็อยู่ไปเรื่อยๆ จนขันธ์แตกขันธ์ดับก็เรียกว่าดับทุกข์ ความสุขอันนี้ไม่มีอะไรเหมือน เป็นความสุขที่เสถียรเลย ความสุขของพระนิพพาน เป็นสุขยิ่งกว่าสิ่งอื่น ความสุขที่เราจะสัมผัส มันมีเป็นระดับๆ ไป เพราะสุขอื่นเสมอด้วยความสงบไม่มี พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” เพราะนิพพานสงบอย่างยิ่ง สงบจากกิเลส สงบจากตัณหา สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากความยึดถือทั้งปวง เพราะฉะนั้นมันมีความสุขอย่างยิ่ง ความสุขอย่างนี้พวกเรามีโอกาสเข้าถึง เพราะเราได้ยินได้ฟังธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว คือเรื่องของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 30 มีนาคม 2567

Direct download: 670330.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661105_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 661105_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 8:00am +07

ในความเป็นจริงแล้วเรื่องของกรรม มันก็คือเรื่องของเหตุกับผลนั่นเอง ถ้าเราทำเหตุอย่างนี้ ผลมันก็เป็นอย่างนี้ ทำเหตุอีกอย่างหนึ่ง ผลก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง มันเป็นเรื่องของเหตุกับผล ธรรมะของพระพุทธเจ้าเต็มไปด้วยเรื่องเหตุกับผลทั้งนั้น ไม่มีอะไรเลื่อนๆ ลอยๆ พิสูจน์ไม่ได้ ฉะนั้นคำสอนของท่านจะเป็นเรื่องของเหตุกับผล อย่างถ้าเรามีตัณหา มีความอยากเกิดขึ้น ผลคือความทุกข์จะต้องเกิดขึ้น ฉะนั้นความอยากเกิดขึ้นเมื่อไร จิตก็สร้างภพทันทีเลย ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ ภพก็คือความดิ้นรนปรุงแต่งของจิต แล้วทันทีที่เกิดความดิ้นรนปรุงแต่งของจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นทันทีเลย มันไม่มีใครคัดค้านได้ มันเป็นสัจธรรมอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเราทำเหตุคือตัณหา ผลก็คือความทุกข์ ถ้าเราทำเหตุ คือศีล สมาธิ ปัญญา หรืออริยมรรคมีองค์ 8 สิ่งที่เราได้คือความพ้นทุกข์ ความดับทุกข์ อันนี้ก็ไม่มีใครกล้าเถียงได้เพราะว่ามันเป็นสัจธรรม หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 24 มีนาคม 2567

Direct download: 670324.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

อันหนึ่งเข้าฌานให้ได้ ซึ่งเรายุคนี้เล่นยาก ถ้าได้ถึงฌานที่ 2 ตัวผู้รู้จะเด่นดวงขึ้นมาเลย แล้วยิ่งฌานสูงขึ้นๆ ตัวรู้ก็ยิ่งแข็งแรง เวลาออกจากฌานมา ตัวรู้จะเด่นดวงอยู่ได้หลายวัน ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องรักษา แต่พวกเราทำฌานไม่เป็น ก็ใช้อีกวิธี อาศัยสติรู้ทันความปรุงแต่งของใจตัวเอง รู้มันไปเรื่อยๆ รู้ทันความปรุงแต่งของกายก็ได้ ร่างกายหายใจออกรู้สึก ร่างกายหายใจเข้ารู้สึก แล้วพอมันหลงลืมที่จะรู้ร่างกาย เราเคยฝึกที่จะรู้สึก ร่างกายหายใจออกหายใจเข้า พอมันหลงลืมร่างกายแป๊บเดียว มันก็จะกลับมารู้สึกได้ สภาวะอะไรก็ได้ ถ้าเรารู้ร่างกายหายใจออก ร่างกายหายใจเข้า พอเราลืม หลงไปแล้วก็จังหวะการหายใจเปลี่ยน สติจะเกิดเองเลย จิตจะรู้ตัวขึ้นมา ตื่นขึ้นมา หรือจิตใจเรา เราเคยอ่าน มันสุขบ้าง มันทุกข์บ้าง เฉยๆ บ้าง เรารู้ทันความปรุงแต่งที่มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ พอเราหลง จิตมีความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ดูง่ายกว่าสุข อย่างดูเวทนา ทุกข์มันดูง่ายกว่าสุข เฉยๆ ดูยากที่สุดเลย ฉะนั้นทีแรกเราจะเห็นทุกข์ก่อน พอใจเราทุกข์ขึ้นมา มันแน่นๆ ขึ้นมา ก็มีสติรู้ทัน เราเคยดูความทุกข์ความสุขของจิตใจชำนาญ พอโกรธปุ๊บ ใจมันมีความทุกข์ขึ้นมาแล้ว มันก็จะเห็น มีสติรู้ทันขึ้นมา ทันทีที่รู้ว่ามีความทุกข์ จิตจะดีดผางขึ้นมา ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้เลย ส่วนที่ครูบาอาจารย์สอน ส่วนใหญ่ให้ดูหลง เพราะหลงนั้นเกิดบ่อยที่สุด ถลำลงไปเพ่งไปจ้องภายใน อารมณ์กรรมฐานบ้าง อะไรที่แปลกปลอมไหวๆ ขึ้นข้างในบ้าง จิตไหลไปเพ่งไปจ้อง รู้ทัน ตรงที่เรารู้ทันจิตที่ไหลไปไหลมา รู้ทันหลงแล้ว จิตจะดีดผางขึ้นมาเป็นผู้รู้ พอมีจิตเป็นผู้รู้ คราวนี้การภาวนาจะง่ายแล้ว หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 23 มีนาคม 2567

Direct download: 670323.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661104_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 661104_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 8:00am +07

พอเราเจริญวิปัสสนากรรมฐานมากๆ เราก็จะเห็นข้อบกพร่องของกาย มันบกพร่องคือมันไม่เที่ยง มันถูกความทุกข์บีบคั้น มันเป็นแค่วัตถุธาตุ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา จิตก็วาง เห็นความจริงทางนามธรรมทั้งหลาย ล้วนแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ ควบคุมไม่ได้ พอเห็นความจริง จิตก็วาง เรื่องอะไรต้องไปดิ้นรนแสวงหาความสุขในโลกให้วุ่นวาย ในเมื่อมันเป็นของที่ไม่ยั่งยืน เรื่องอะไรจะต้องเกลียดความทุกข์มากมาย ในเมื่อจริงๆ แล้วโลกนี้ก็มีแต่ทุกข์ ไม่มีอย่างอื่นหรอก พอเราเดินปัญญาจริงๆ จิตเราก็จะเป็นกลางต่อสุขและทุกข์ ต่อดีและชั่ว สุดท้ายเราก็ปล่อยวาง เห็นความไม่ได้สาระแก่นสารก็วาง เพราะฉะนั้นการที่เราจะปล่อยวางรูปธรรมนามธรรมได้ เราต้องเดินวิปัสสนา ดูไตรลักษณ์ของรูปธรรมของนามธรรม ดูแล้วดูอีก ไม่ใช่คิดเอาเองว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ต้องรู้สึกเอา ต้องดูจนซาบซึ้งถึงอกถึงใจ ถึงจะปล่อยวางได้ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 17 มีนาคม 2567

Direct download: 670317.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661102_VT2__.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 661102_VT1__.mp3
Category:short clips -- posted at: 8:00am +07

การปลูกต้นไม้ก็ต้องรู้จักต้นไม้ชนิดนี้ จะรดน้ำแค่ไหน จะใส่ปุ๋ยแค่ไหน เหมือนเรา เป็นต้นไม้ชนิดไหน เป็นต้นไม้ที่จะต้องเร่งความเพียรมาก หรือเป็นต้นไม้ที่ภาวนาไปเรียบๆ ง่ายๆ สังเกตตัวเองเอา อย่าทำไปด้วยความอยาก เห็นเขาภาวนาก็อยากอย่างเขา อย่างได้ยินว่าหลวงพ่อดูจิต เราก็อยากดูจิต เรายังไม่มีกำลังจะดูจิต เราก็ดูกายไป มันต้นไม้คนละชนิดกัน ต้นไม้แต่ละต้น เวลาจะใส่น้ำ จะใส่ปุ๋ยก็ต้องดู ต้นไม้ต้นนี้ต้องการน้ำมาก ก็ให้น้ำมาก ต้นนี้ต้องการน้ำน้อย ก็ให้น้ำน้อย ต้นนี้ต้องการปุ๋ยอย่างนี้ เราเอาปุ๋ยอีกอย่างไปใส่ มันก็ไม่โต ดีไม่ดีตาย ฉะนั้นต้นไม้แต่ละชนิดต้องการน้ำ ต้องการปุ๋ยไม่เหมือนกัน เราแต่ละคนก็ดูตัวเอง เราต้องการกรรมฐานชนิดไหนที่เหมาะกับเรา เรารู้จักประเมินตัวเอง ว่าเราเป็นต้นไม้ชนิดไหน ค่อยๆ ฝึกเอา หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 16 มีนาคม 2567

Direct download: 670316.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 661029_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

1 2 3 4 5 6 7 Next » 97