Direct download: 651203_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 651127_VQ_.mp3
Category:short clips -- posted at: 7:00pm +07

Direct download: 651127_VT2.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 651127_VT1.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เราจะภาวนาให้ตลอดรอดฝั่ง ต้องรู้จักปลีกตัวออกจากหมู่คณะที่วุ่นวายบ้าง มีโอกาสปลีกตัวออกจากหมู่คณะที่วุ่นวายได้ ก็ปลีกตัวเสีย แต่ถ้าไม่มีโอกาสปลีกตัว ก็ดูแลรักษาจิตของตนเองไว้ วันใดที่เราภาวนา เราสามารถสงบอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายได้ มีความสงัด สงบ ปลีกตัวออกจากความวุ่นวาย ทั้งๆ ที่อยู่ท่ามกลางความวุ่นวายนั่นล่ะ แล้วชีวิตเราจะมีความสุข มันเรื่องอะไร เกิดมาแล้วต้องคลุกคลี มั่วสุม จมอยู่กับความทุกข์ตลอดเวลา ผู้มีปัญญาก็มีวิธีถอดถอนตัวเองออกจากโลก จากความวุ่นวาย ก็ปฏิบัติไป มีสติรู้เท่าทัน กายเคลื่อนไหว รู้สึก จิตเคลื่อนไหว รู้สึก ทำไปเถอะ ต่อไปก็จะได้กายวิเวก ได้จิตตวิเวก ได้อุปธิวิเวก เป็นลำดับๆ ไป หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 4 มิถุนายน 2566

Direct download: 660604.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ถ้าเราปฏิบัติถูกทาง อยู่ในทางสายกลาง แล้วเราก็ไม่ไปมีอุปสรรคกลางทาง วันหนึ่งเราก็ต้องถึงพระนิพพานแน่นอน ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นสิ่งที่ขวางเราไม่ให้ไปพระนิพพาน ไม่ใช่ใครอื่น คือใจที่อ่อนแอของเราเอง ถ้าเราไม่รู้ทาง เราไปไม่ได้ ถ้ารู้ทางแล้วอ่อนแอก็ไม่ยอมไป ใช้ไม่ได้ หลวงปู่ดูลย์สอนให้หลวงพ่อรู้จักเดินทางสายกลาง ไม่เผลอลืมจิตใจของตนเอง ไม่ไปเพ่งจ้องบังคับจิตใจของตัวเอง ไม่สุดโต่ง 2 ข้าง ถัดจากนั้นหลวงพ่อดูทุกวัน ไม่เคยเลิกเลย การภาวนาไม่หยุดเลย อยู่ตรงไหนก็ปฏิบัติได้ ถึงเวลาสมควรทำสมถะก็ทำ ถึงเวลาที่จิตมีกำลังพอจะเดินปัญญา ก็เดินปัญญา ไม่เกยตื้น สำรวจตัวเองอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเราก็สำรวจตัวเอง เดินให้ถูกทางก่อน หลวงพ่อพูดง่ายๆ ทางสายกลาง ไม่เผลอ ไม่เพ่ง 2 ตัวนี้ เผลออยู่ก็คือกามสุขัลลิกานุโยค เพ่งอยู่คืออัตตกิลมถานุโยค ไม่เผลอ ไม่เพ่ง คือภาวะแห่งการรู้ รู้กายอย่างที่กายเป็น รู้จิตอย่างที่จิตเป็น นี่เราเดินอยู่ในทางสายกลางแล้ว แล้วอย่าไปติดไปค้างอะไรอยู่กลางทาง ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติไป ถึงวันหนึ่งเราก็จะถึงพระนิพพาน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 3 มิถุนายน 2566 (ช่วงบ่าย)

Direct download: 660603B.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651126_VQ_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 651126_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 651126_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 651126_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 651120_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

อาศัยจุดตั้งต้นอ่านจิตตัวเองให้ออกนั่นล่ะ จิตคิดชั่ว ยังไม่ทันพูด คิดชั่วก่อน ยังไม่ทันทำชั่ว คิดชั่วก่อน พอรู้ทันตั้งแต่ต้นตอ ตรงที่คิดชั่วนั้น คิดด้วยราคะ โทสะ โมหะ รู้ทันไป รู้ทันอย่างนี้แล้วองค์มรรคทั้งหลายจะเจริญขึ้น นี้เป็นวิธีปฏิบัติที่เรียบง่าย ลัดสั้นที่สุดแล้ว ปกติก็ไม่ค่อยมีใครเขาสอนกันหรอก เขาจะสอนรูปแบบของการปฏิบัติ ให้นั่งสมาธิอย่างนี้ เดินจงกรมอย่างนี้ ส่วนหลวงพ่อจะเน้นลงมาที่แก่นกลางของการปฏิบัติ คือจิตของเรานั่นเอง ได้จิตก็ได้ธรรมะ ไม่ได้จิตก็ไม่ได้ธรรมะ ฉะนั้นถ้าเราตัดตรงเข้าที่จิตได้เลย ก็คอยรู้เท่าทันไป ถ้าตัดตรงเข้าทิ่จิตไม่ได้เลย ก็ผ่านกระบวนการตัวอื่นมา ที่สอนให้วันนี้ มันเป็นกระบวนการที่ลัดสั้นสุดๆ แล้ว ตัดเข้าที่จิตเลย จิตคิดเพราะอะไร ก็รู้ทันไป ทำไม่ได้ก็ทำความสงบก่อน สงบแล้วก็มาดูกายไป จากกายเขยิบขึ้นดูเวทนา จากเวทนาเขยิบขึ้นมาดูจิตตสังขาร ความปรุงดีปรุงชั่ว ถัดจากนั้นก็ขึ้นมาสู่ธัมมานุปัสสนา เห็นสภาวธรรม รูปธรรมนามธรรม ทำงานไป ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา กุศล อกุศล ก็เกิดดับ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา สิ่งทั้งหลายมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ อันนั้นคือจุดสุดยอดกรรมฐาน เราจะเห็นสิ่งนี้เกิดเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี ฉะนั้นเราเห็นสัจจะ เห็นความจริงแท้ ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นลอยๆ สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ กรรมฐานมีมากมาย ถ้าตัดตรงเข้าที่จิตได้ก็เข้ามาเลย ถ้าไม่ได้ก็ไปดูเอา ถนัดดูกายก็ดูกาย ถนัดดูเวทนาก็ดูเวทนา ถนัดดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล ก็ดูเอา ถ้าลึกซึ้งลงมาเห็นกระบวนการที่จิตมันทำงาน ตรงนั้นจริงๆ คือธัมมานุปัสสนา ถ้าเข้าตรงนี้ได้ก็เข้าเลย เข้าไม่ได้ก็ไปกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนาไป หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 3 มิถุนายน 2566

Direct download: 660603A.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651120_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660531.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

เส้นทางนี้เราจะต้องฝึก ฝึกให้มีศีลอัตโนมัติ ฝึกจนกระทั่งเราได้สมาธิอัตโนมัติ แล้วการที่เราคอยดูเกิดดับไปเรื่อยๆ วันหนึ่งมันเห็นเกิดดับโดยไม่เจตนา นั่นล่ะปัญญาอัตโนมัติ ทีแรกยังไม่อัตโนมัติหรอก ดูบ่อยๆๆ ไป ต่อไปมันอัตโนมัติ ไม่ได้เจตนาจะรู้สึก มันก็รู้สึก ไม่ได้เจตนาจะเห็นสภาวะ มันก็เห็น ปัญญาอัตโนมัติเกิดแล้ว เมื่อศีลอัตโนมัติ สมาธิอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ ทำงานอยู่อย่างนี้ โลภเจตนาถูกทำลายไป โลภเจตนา อย่างเราถือศีล มีความโลภซ่อนอยู่ อยากได้เป็นคนดี อยากเป็นเทวดา ทำสมาธิก็มีความโลภซ่อนอยู่ อยากมีฤทธิ์มีเดช อยากไปเป็นพระพรหม เจริญปัญญาก็อยากรอบรู้ อยากแตกฉาน อย่างนี้กิเลสแทรกอยู่ ถ้ากิเลสแทรกอยู่ จิตใจก็ยังจะดิ้นรน สร้างภพสร้างชาติต่อไป แต่ถ้าเราภาวนา จนกระทั่งศีลอัตโนมัติ สมาธิอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ คือเห็นไตรลักษณ์โดยไม่ได้เจตนาจะเห็น ตรงนี้เราไม่มีเจตนา ไม่มีความโลภ เมื่อขาดเจตนาที่เจือด้วยโลภะตัวนี้ จิตก็จะไม่ดิ้นรน ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะเข้าถึงความเป็นกลาง จิตจะสักว่ารู้ สักว่าเห็น หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 20 พฤษภาคม 2566

Direct download: 660520.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 4:00pm +07

เวลาเราจะปฏิบัติธรรม ไม่ใช่นั่งบังคับตัวเองให้เคร่งเครียด แต่รู้สึกตัวเองไว้ ร่างกายหายใจออก รู้สึก หายใจเข้า รู้สึก ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน รู้สึกไว้ การที่เรารู้สึกกาย รู้สึกจิต มันมี 2 สเต็ป ขั้นแรก รู้ถึงความมีอยู่ของร่างกาย รู้ถึงความมีอยู่ของจิตใจตัวเอง ร่างกายมีอยู่ รู้สึก ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายมีอยู่ รู้สึก ถัดจากนั้น ก็รู้ให้ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง ทีแรกเรารู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ ลึกลงอีกชั้นหนึ่ง รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของกายของใจ ตรงนี้เราจะเห็นไตรลักษณ์ได้ การที่หลวงพ่อบอกให้มีสติ คือคอยรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ อันนี้สมถะ รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของกายของใจ อันนี้คือวิปัสสนา ทำสมถะก็ต้องมีสติ ทำวิปัสสนาก็ต้องมีสติ ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติ หลวงปู่มั่นสอนชัดเจน “มีสติคือมีการปฏิบัติ ขาดสติคือขาดการปฏิบัติ” ไม่ได้ปฏิบัติแล้ว เดินจงกรมแล้วก็เครียด ไม่ได้ปฏิบัติ อันนั้นเป็นอัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นรู้สึกตัวให้เป็น แล้วการปฏิบัติธรรมจะไม่ยากเท่าที่คิดหรอก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช บ้านจิตสบาย 21 พฤษภาคม 2566

Direct download: 660521.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ทำกรรมฐานแล้วคอยรู้ทันจิตตัวเอง เรียกว่าจิตตสิกขา บทเรียนชื่อจิตตสิกขาจะทำให้เราได้สมาธิที่ถูกต้อง คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจคำว่า จิตตสิกขา ก็ไปนั่งสมาธิแล้วก็เพ่งๆๆ เคลิ้มๆ ลงไป บอกนี่คือจิตตสิกขา ไม่เห็นได้เรียนรู้เรื่องจิตเลย มีแต่การน้อมจิตให้เซื่องซึมไป หรือเคร่งเครียดไป ฉะนั้นให้เราทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง ทำไปสบายๆ แล้วถ้าจิตมันไหลไปคิด รู้ทัน จิตมันถลำลงไปเพ่งอารมณ์กรรมฐาน รู้ทันไป ตรงที่เรารู้ทันความเคลื่อนไป ความหลงไป สติจะเกิด สติตัวนี้เป็นสัมมาสติ มันรู้เท่าทันจิตตนเอง สิ่งที่เรียกว่าสัมมาสติ พระพุทธเจ้าอธิบายไว้ชัดเจน คือสติปัฏฐาน 4 เป็นสติที่รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้จิตก็คือรู้จิตตสังขารนั่นล่ะ จิตปรุงดีก็รู้ จิตปรุงชั่วก็รู้ แล้วก็รู้ธรรม รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ก็ดูไป ทั้งกุศลทั้งอกุศลมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 14 พฤษภาคม 2566

Direct download: 660514.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660512.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651119_VQ_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เราได้ยินคำว่า “ว่างๆ” อย่ามาว่าง พยายามรู้ พยายามดูกายอย่างที่กายเป็น ดูจิตอย่างที่จิตเป็นไป เดี๋ยววันหนึ่งก็จะเห็น กายก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ สิ่งที่มันไม่เที่ยง มันก็เป็นทุกข์ สิ่งที่มันเป็นทุกข์ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดถือ จิตมันก็หมดความยึดถือ มันก็เป็นอิสระขึ้นมา ไม่ต้องโหยหาความว่าง ไม่ต้องแสวงหาความว่าง ยิ่งแสวงหา ยิ่งไม่เจอ เรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจไป ถึงวันที่วัฏฏะมันถล่มลงไป เดี๋ยวมันว่างเอง หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 13 พฤษภาคม 2566

Direct download: 660513.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651119_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

การทำความรู้สึกตัว ไม่ต้องทำอะไร รู้สึกเข้าไปเลย ร่างกายนั่ง รู้ว่านั่ง ร่างกายเดิน รู้ว่าเดิน ไปดูในสติปัฏฐาน ท่านไม่ได้บอกให้ทำอะไร “ดูกร พระภิกษุทั้งหลาย ให้เธอคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกยาว รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้ายาว รู้ว่าหายใจเข้ายาว” ให้ทำอะไร ให้รู้ รู้อะไร รู้ร่างกายที่หายใจออก หายใจเข้า เรารู้ร่างกายอยู่ ถ้ารู้กายรู้ใจอยู่ก็เรียกว่ารู้สึกตัวอยู่ แต่ถ้าหายใจไปด้วยความเคร่งเครียด ไม่เรียกว่ารู้สึกตัว แต่เรียกว่าทรมานตัวเองอยู่ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 7 พฤษภาคม 2566

Direct download: 660507.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651119_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เรายังเกิดมาได้ทันที่พระสัจธรรมยังดำรงอยู่ ขวนขวายพากเพียรปฏิบัติเข้า เป็นฆราวาสหน้าที่ทางโลกต้องทำ หน้าที่ทำมาหากิน เลี้ยงครอบครัว หน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม อย่างไปเลือกตั้งเป็นหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม ต่อชาติบ้านเมือง ส่วนหน้าที่ต่อตนเอง คือการปฏิบัติธรรม เรียกว่าทางโลกเราก็ต้องทำ ทางธรรมเราก็ต้องทำ พยายามฝึกตัวเองไป ชีวิตเราก็จะสะอาดหมดจด ด้วยอำนาจของศีล ด้วยอำนาจของสมาธิ ด้วยปัญญา พอปัญญาคือความรู้ถูก ความเข้าใจถูกเกิดขึ้น มันจะทำลายกิเลสขั้นละเอียด คือสังโยชน์ เป็นกิเลสที่ผูกมัดเราไว้กับโลก ให้เราติดอยู่ในภพภูมิต่างๆ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 6 พฤษภาคม 2566

Direct download: 660506.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 4:30pm +07

Direct download: 651113_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

1 « Previous 10 11 12 13 14 15 16 Next » 95