เวลาเราภาวนาแล้วจิตเราไม่สงบ เราพยายามจะให้สงบ ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ มันยิ่งฟุ้งซ่าน ตรงที่อยากทำแล้วก็ดิ้นรนทำ จะทำให้ฟุ้งซ่านมากขึ้น แต่ถ้าเราตัดที่ต้นตอของมัน เรารู้ จิตฟุ้งซ่านเราไม่ชอบ รู้ว่าไม่ชอบ ความไม่ชอบดับ จิตเป็นกลาง พอจิตเป็นกลาง ความฟุ้งซ่านทนอยู่ไม่ได้ มันดับขาดสะบั้นทันทีเลย พอจิตเป็นกลางได้ มันตั้งมั่นอัตโนมัติอยู่แล้ว มันตั้งมั่น มันเป็นกลางขึ้นมา ก็เอื้อให้เกิดปัญญา ปัญญาทำหน้าที่ตัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป อย่างความฟุ้งซ่านอย่างนี้ พอความฟุ้งซ่านเกิด สติรู้ทัน จิตตั้งมั่น จิตเป็นกลาง จะเกิดปัญญา ปัญญาก็ตัดความฟุ้งซ่านขาดสะบั้นออกไป จิตก็ตั้งมั่น สงบ เด่นดวงอยู่ เพราะฉะนั้นไม่ต้องพยายามทำจิตให้สงบ ไม่ต้องทำจิตให้ตั้งมั่น ให้รู้ทันเวลามันไม่สงบ เวลามันไม่ตั้งมั่น พอรู้ทันแล้วสังเกตลงไป จิตยินดีให้รู้ทัน จิตยินร้ายให้รู้ทัน ถ้าเราถอดถอนความยินดียินร้ายเสียได้ ความดิ้นรนปรุงแต่งของจิตมันก็หยุด จิตมันก็สงบ ตั้งมั่น เด่นดวง เป็นกลาง ง่าย ง่ายมาก แต่ถ้าเราไม่รู้วิธี โอ๊ย ยาก อย่างจิตเราฟุ้งซ่าน ไปนั่งสมาธิไปเดินจงกรม เมื่อไรมันจะสงบ เขาฝึกสมาธิก็ฝึกกันเป็นสิบๆ ปี ถึงจะชำนิชำนาญ ไม่ทันกิเลสของคนรุ่นนี้ ฉะนั้นอาศัยสติรู้ทันลงไป จิตฟุ้งซ่าน รู้ทัน จิตยินร้ายต่อความฟุ้งซ่าน รู้ทัน แล้วจิตจะสงบเอง ตั้งมั่นเอง อันนี้คือการใช้ปัญญานำสมาธิ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 16 กันยายน 2566

Direct download: 660916.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660211_VT3_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660211_vt2.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

ธาตุดินไม่มีกิเลส เอาของสกปรกไปเทใส่ดิน ดินก็ไม่ว่าอะไร เอาน้ำหอมไปพรมใส่ดิน ดินก็ไม่ชื่นชมอะไร ร่างกายนี้ก็เหมือนกัน เอาน้ำหอมไปใส่มัน มันก็ไม่ได้ชื่นชมอะไร คนที่ชื่นชมคือจิต เพราะฉะนั้นถ้าเรามองเห็นร่างกายเป็นเพียงธาตุดิน ไม่มีกิเลสในธาตุดิน ไม่มีความยินดียินร้าย ในธาตุดิน ในธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟก็เหมือนกัน ธาตุแต่ละธาตุนั้นไม่ได้มีกิเลส ไม่มีกิเลส แล้วก็ไม่มีเจ้าของด้วย ไม่ใช่ของเรา มันเป็นสมบัติของโลก ธาตุอีกตัวหนึ่ง ธาตุตัวที่ห้าคือ space อากาศธาตุ ช่องว่าง พวกเราดูไม่ค่อยได้หรอก ถ้าทรงสมาธิอยู่ ถึงจะพอดูได้ ธาตุ 4 ตั้งอยู่อย่างนี้ได้ เพราะมันจุอยู่ในช่องว่าง ช่องว่างเอง ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เหมือนกัน ไม่มีกุศล อกุศลในช่องว่างนี้ เหมือนกัน เพราะฉะนั้นดิน น้ำ ไฟ ลม ในช่องว่าง ไม่มีกุศล อกุศล เป็นของธรรมชาติ ธรรมดา ไม่มีเจ้าเข้าเจ้าของ ธาตุไม่ได้มีแค่ดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศธาตุ ยังมีวิญญาณธาตุอีกตัวหนึ่ง วิญญาณธาตุของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ได้สะอาดเหมือนดิน น้ำ ไฟ ลม แต่มันปนเปื้อนด้วยความปรุงแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันปนเปื้อนด้วยกิเลส ฉะนั้นเราก็จะค่อยภาวนา เพื่อซักฟอกจนกระทั่งธาตุวิญญาณธาตุนี้ เข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้น หลุดพ้นจากความยึดมั่น ถือมั่นในสังขารทั้งปวง หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งปวง หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 10 กันยายน 2566

Direct download: 660910.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660211_vt1.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

การที่เราอ่านจิตตนเอง ไม่ใช่แค่จะได้สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ไม่ได้แค่สัมมาวายามะ แต่สติของเราจะเข้มแข็งมากขึ้นๆ ทีแรกต้องโกรธแรงๆ ถึงจะรู้ ต่อไปขัดใจเล็กๆ ก็เห็นแล้ว สติเราพัฒนาแล้ว ทีแรกต้องมีราคะรุนแรงถึงจะรู้ ต่อไปใจโลภนิดเดียว แค่อยากเห็นรูป ก็เห็นแล้ว อย่างเรานั่งอยู่ ได้ยินเสียงอะไรแว่วๆ เราอยากฟัง อยากหันหน้าไปดู เราก็รู้ทัน เรารู้ได้ละเอียดขึ้นๆ สติเราเร็วขึ้นๆ นั่นล่ะเป็นสัมมาสติ สามารถระลึกได้โดยที่ไม่ได้เจตนาระลึก ถ้าจงใจระลึกมันเจือด้วยโลภเจตนา สติตัวจริงไม่เกิดหรอก เพราะสติไม่เกิดร่วมกับอกุศล เพราะฉะนั้นเราจงใจให้มีสติ ตั้งใจให้มีสติ สติจะไม่เกิด สติเกิดจากเราคอยดูสภาวะไปเรื่อยๆ จิตจำสภาวะได้แล้วสติเกิดเอง อย่างเราไปเห็นโกรธบ่อยๆ ต่อไปพอโกรธปุ๊บ สติเกิดเองเลย รู้ทันว่าตอนนี้โกรธแล้ว รู้ทันว่าโลภแล้ว รู้ทันว่าหลงแล้ว รู้ทันว่าอยากขยับตัวแล้ว รู้ทันว่าอยากโน้นอยากนี้แล้ว คอยรู้ทัน นี้สติ ทุกครั้งที่สติเกิด สัมมาสติเกิด สัมมาสมาธิจะเกิดร่วมด้วยเสมอ หลวงพ่อเริ่มที่เข้าใจสิ่งต่างๆ ขึ้นมานี้ เริ่มมาจากประโยคเดียว “อ่านหนังสือมามากแล้ว ต่อไปนี้อ่านจิตตนเอง” เห็นไหม การอ่านจิตตนเองครอบคลุมองค์มรรคทั้ง 8 ได้ การอ่านจิตตนเองนั้น คือการเรียนรู้ทุกข์นั่นเอง รู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไรก็ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เกิดอริยมรรคอัตโนมัติ ไปฝึกเอา ไปทำเอา ไม่มีใครช่วยใครได้หรอก หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 9 กันยายน 2566

Direct download: 660909.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660205_VQ_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660205_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660205_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660204_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660204_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เราทำต้นทางนี้ให้ดี มีสติอ่านจิตอ่านใจตัวเองไปเรื่อยๆ กุศลเกิดก็รู้ อกุศลเกิดก็รู้ไป ไม่ต้องคาดหวังอะไร แล้วมันจะรู้ได้เร็วขึ้นๆ เพราะสติเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ มีความเพียรชอบ ทำให้มากเจริญให้มาก ก็จะทำให้สัมมาสติบริบูรณ์ ฉะนั้นคอยดูจิตดูใจตัวเองที่เป็นกุศลที่เป็นอกุศลไว้ให้มากๆ สติก็จะดี สมาธิก็จะสมบูรณ์ขึ้นมา แล้วต่อไปพอสมาธิเกิดแล้ว จะเห็นไตรลักษณ์ ลำพังสติ ไม่มีสัมมาสมาธิหนุนหลัง ยังไม่เห็นไตรลักษณ์ สติระลึกกาย เห็นอะไร เห็นกาย สติระลึกรู้เวทนา เห็นอะไร ก็เห็นเวทนา สติระลึกรู้กุศลอกุศล เห็นอะไร เห็นกุศล อกุศล แต่ถ้าจิตมีสัมมาสมาธิตั้งมั่น มันจะเห็นเลยว่ากายที่สติระลึกรู้ ไม่ใช่เรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา เวทนาที่สติระลึกรู้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา กุศลอกุศลที่จิตระลึกรู้ คือสังขารทั้งหลายไม่ใช่เราๆ ค่อยดูไป พอปัญญามันแก่รอบแล้วต่อไปวิมุตติมันก็เกิดเอง พระพุทธเจ้าสอนบอกว่า ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ จิตบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ เมื่อศีล สมาธิ ปัญญาแก่รอบ ศีล สมาธิ ปัญญาแก่รอบ ต้องอาศัยการเจริญมรรคมีองค์ 8 นั่นล่ะ แต่พวกเราจะปฏิบัติทางดูจิต เราก็ตัดเข้ามาตรงสัมมาวายามะนี่เลย คอยรู้ทันกิเลสตัวเองไว้ เป็นการปฏิบัติที่ลัดสั้น หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 3 กันยายน 2566

Direct download: 660903.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660129_VQ.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

ค่อยภาวนา ทำไปเรื่อยๆ เห็น เมื่อไรเห็นทุกข์มันก็จะวางทุกข์ ถ้าเห็นว่ากามนำความทุกข์มาให้ มันก็วางกาม เห็นกายคือตัวทุกข์ มันก็วางกาย วางกามมันก็วางกายนั่นล่ะ แล้วสุดท้ายมันก็เข้ามาที่จิต วางจิตได้มันก็ที่สุดของการปฏิบัติ มันก็อยู่ตรงนั้นล่ะ แต่วางจิตได้ก็คือเห็นจิตนั้นคือตัวทุกข์ ฉะนั้นไม่เห็นทุกข์ไม่เห็นธรรมหรอก การเห็นทุกข์เห็นโทษแล้วปล่อยวางได้ ไม่เฉพาะกามหรอก ไม่ว่าอะไรก็ตามเถอะ ถ้าเราเห็นทุกข์เห็นโทษ ของการที่เราเข้าไปยึดไปถือสิ่งนั้นแล้ว มันถึงจะวาง เพราะฉะนั้นถ้าเห็นทุกข์ พอรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เราเห็นทุกข์แล้ว ไม่เกิดขึ้น อย่างเราเห็นว่ากายเป็นทุกข์อย่างแท้จริง ความอยากให้กายเป็นสุข ไม่เกิดขึ้น ความอยากให้กายไม่ทุกข์ ไม่เกิดขึ้น มันรู้ว่าไร้เดียงสา อยากให้กายมีความสุข มันมีไปได้อย่างไร เพราะมันคือตัวทุกข์ ดูไปเรื่อย อยากให้กายไม่ทุกข์ อันนี้ก็ไร้เดียงสา อยากให้กายสุขก็ไร้เดียงสา อยากให้กายไม่ทุกข์ก็ไร้เดียงสา เพราะจริงๆ มันคือตัวทุกข์ เห็นไหมว่า ถ้าเราเห็นตัวทุกข์ทีเดียว มันตอบโจทย์หมดแล้ว รู้ทุกข์เมื่อไร ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 2 กันยายน 2566

Direct download: 660902.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660129_VT2.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660830.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660129_VT1.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

ท่านสอนให้เจริญสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานพัฒนาเครื่องมือสำคัญขึ้นมาคือสติ แล้วใช้สตินั้นไปเจริญปัญญา จิตที่มีสติก็ประภัสสร เพราะขณะนั้นไม่มีกิเลส จิตเป็นกุศล ผ่องใส ประภัสสร พอได้จิตที่ผ่องใสประภัสสร มีสติอยู่ ก็เอาสตินั้นล่ะ เอาจิตอันนั้นล่ะไปเจริญปัญญา ไปเรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย ถ้าทำมาถูกต้อง อันแรกเลยคือพัฒนาจิตขึ้นมา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พัฒนาจิตขึ้นมาสู่ความประภัสสร ไม่ถูกกิเลสครอบงำ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง จิตเป็นกุศล แล้วใช้จิตนั้นไปเจริญปัญญา เกือบร้อยละ 100 ของผู้ปฏิบัติมันไม่มีจิตตัวนี้ ไม่มีจิตประภัสสร นั่งสมาธิก็เคร่งเครียด อันนั้นมีโทสะ นั่งแล้วก็ติดในความสุข ความสบาย นั่นเป็นโลภะ นั่งแล้วก็เคลิบเคลิ้ม ลืมเนื้อลืมตัว อันนั้นเป็นโมหะ มันเป็นจิตที่มีกิเลสจรมาครอบงำจิตเรียบร้อยแล้ว ก็เลยไม่มีจิตประภัสสร หรือครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่าจิตผู้รู้ จิตผู้รู้ก็คือจิตประภัสสรนั่นเอง เป็นจิตที่ไม่เจือปนด้วยกิเลส มีสติอยู่ เป็นกุศลจิต เราจะต้องพัฒนาจิตดวงนี้ขึ้นมาให้ได้ ถ้าเราพัฒนาจิตดวงนี้ขึ้นมาไม่ได้ เราไปเจริญปัญญาไม่ได้จริง เราเอาจิตที่ปนเปื้อนด้วยกิเลสไปเจริญปัญญา ความรู้ความเห็นนั้นจะเจือปนด้วยอคติ จะมีอคติ เพราะว่ามันมีกิเลสในการมอง ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ออกมาเลยไม่ใช่ของจริง หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 27 สิงหาคม 2566

Direct download: 660827.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660128_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

รู้สึกตัวไปสบายๆ อย่าไปดัดแปลงจิตใจ ส่วนใหญ่เราจะคิดว่า การปฏิบัติเราจะต้องทำอะไร เราค่อยๆ ฝึก ฝึกตัวเอง ในขั้นวิปัสสนาไม่ต้องแก้ไขอะไร รู้ทุกอย่าง อย่างที่มันมี อย่างที่มันเป็น ยกเว้นตอนเริ่มต้น ถ้ามันไม่ยอมเดินปัญญา ต้องช่วยมันแก้ แก้ไขที่จิตติดนิ่ง ติดเฉย ก็พิจารณากาย พิจารณาจิตอะไรไป สมถะต้องทำ ต้องแก้ไข ส่วนมากอารมณ์กรรมฐานที่ใช้ทำสมถะ ก็จะเป็นอารมณ์ตรงข้าม เป็นปฏิปักษ์กับกิเลสหลักของเรา อย่างเราพวกโทสะเยอะ เจริญเมตตาไป ให้ใจร่มๆ ใจเย็นๆ ใจก็สงบ มีราคะพิจารณาปฏิกูลอสุภะไป ก็เห็นราคะไม่มี วัตถุกามไม่มีสาระแก่นสาร ราคะก็สงบ ใจก็ร่มเย็น ใจมันฟุ้ง เที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่มีความสุขไปเรื่อย เรามาทำอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข จิตมีความสุขอยู่ในอารมณ์เดียว จิตก็ไม่หิวอารมณ์อื่น จิตก็สงบอยู่ นี่หลักของสมถะ มีการแก้ไขอารมณ์ของตัวเอง จิตใจของตัวเอง แต่ในขั้นวิปัสสนาจริงๆ ไม่ต้องทำอะไร รู้กายอย่างที่กายเป็น รู้จิตอย่างที่จิตเป็นไป แต่ถ้าไม่รู้ อันนั้นต้องทำ ช่วยมันคิดพิจารณา แต่ถ้ามันดูได้เอง ไม่ต้องทำอะไรแล้ว หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 26 สิงหาคม 2566

Direct download: 660826.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660122_VQ_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660122_VT2__2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

เราเดินตามแผนผังที่พระพุทธเจ้าวางไว้ให้เรา อย่ากระโดดข้ามขั้น ไม่ใช่ไม่มีศีล ก็โดดขึ้นไปทำสมาธิ ไม่มีศีลแล้วไปทำสมาธิได้ไหม ก็ได้ แต่มันก็จะเกเรแบบเทวทัต เทวทัตทำสมาธิได้แต่เทวทัตไม่มีศีล สุดท้ายเทวทัตก็ลงอเวจี เจริญปัญญาโดยไม่มีสมาธิ ก็เป็นไปไม่ได้ แบบเรียนที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา มีขั้นมีตอน มีลำดับที่ชัดเจน ก่อนเจริญปัญญานั้นต้องมาฝึกจิตให้ตั้งมั่นก่อน ก่อน ที่จะลงมือฝึกจิตนั้น ต้องตั้งใจรักษาศีล 5 ให้ได้ก่อน ให้เด็ดเดี่ยวลงไป ถ้าเรารักษาศีลของเราไว้ได้ดี เราจะไม่ทำชั่วทางกาย ทางวาจา เราจะเหลือความชั่วทางใจ ซึ่งอันนี้ล่ะเราจะล้างมันด้วยสมาธิและปัญญา ศีลเป็นเครื่องขัดเกลากายวาจาเราให้สะอาดหมดจด ไม่ทำผิดทางกาย ทางวาจา สมาธิและปัญญาเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจให้สะอาดหมดจด แต่มันมี 2 ขั้นตอน ขั้นสมาธิคือการเตรียมจิตให้พร้อมสำหรับการเจริญปัญญา สมาธิอันแรก สงบ สบาย ทำให้สดชื่น มีเรี่ยวมีแรง วิธีคือน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง สมาธิอันที่สอง ปลุกตัวเองให้ตื่นด้วยสติ ฉะนั้นเราทำกรรมฐานอันเดิมนั่นล่ะ แต่ไม่ได้ทำเพื่อมุ่งให้จิตมีความสุขความสงบอะไรอีกต่อไปแล้ว เราทำกรรมฐานแล้วก็คอยรู้ทันจิตตัวเองไว้ พยายามฝึกให้จิตมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูไว้ แล้วดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน เบื้องต้นก็เห็นกายเห็นใจมันทำงาน เบื้องปลายลึกลงไปอีกก็เห็นกายนี้ก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตใจก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ ก็เห็นอย่างนี้ไป เรียกว่าต่อไปพอเรารู้แจ้งแทงตลอด กายนี้คือตัวทุกข์ จิตนี้คือตัวทุกข์ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับไป อันนี้เรียกว่ารู้จริงในสังขารทั้งหลาย สังขารก็คือขันธ์ 5 นั่นล่ะ คือกายคือใจเรานั่นล่ะ พอเรารู้จริงในสังขารเรียกว่าเราล้างอวิชชาได้ หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช บ้านจิตสบาย 20 สิงหาคม 2566

Direct download: 660820.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660122_VT1_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 660121_VT2_.mp3
Category:short clips -- posted at: 6:00pm +07

1 « Previous 8 9 10 11 12 13 14 Next » 96