ธรรมะประจำโลก ไม่ใช่ธรรมะเดี่ยวๆ มันมี 2 ด้านที่อยู่คู่กัน มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีนินทา มีสรรเสริญ มีสุข มีทุกข์ เมื่อธรรมชาติของโลก ธรรมะประจำโลกมันเป็นอย่างนี้ เราอยากให้มันไม่เป็นอย่างนี้ มันจะทุกข์ แต่ถ้าเราเข้าใจโลก ว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ ความอยากมันก็ไม่เกิดขึ้น ฉะนั้นถ้าเรารู้ความจริง เราเข้าใจความจริง ถ้าจะอยู่กับโลก ธรรมะประจำโลกก็คือโลกธรรม 8 ข้อ เราเข้าใจโลกธรรม 8 ข้อ ความทุกข์ก็จะหายไปจากใจเราเยอะแยะเลย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 29 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640529 ซีดีแผ่นที่ 90

Direct download: 640529.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

สังเกตให้ดีในโพชฌงค์ 7 เริ่มจากสติ ลงท้ายด้วยอุเบกขา ความเป็นกลาง เวลาเราดูในสติปัฏฐาน 4 ลองไปอ่านดู ลงท้ายของการเจริญสติปัฏฐาน ท่านบอก “ถอดถอนความยินดียินร้ายในโลกเสียได้” ถอดถอนความยินดียินร้ายในโลกเสียได้ ก็คือเป็นกลางเป็นอุเบกขานั่นล่ะ ฉะนั้นที่เราภาวนา เจริญสติ เจริญปัญญา จนกระทั่งในที่สุดเราเป็นกลางกับโลก โลกก็เป็นโลกอยู่อย่างนั้น แต่ใจเราไม่เกี่ยวกับโลก ก็พ้นทุกข์ไป หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 26 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640526 ซีดีแผ่นที่ 90

Direct download: 640526.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

การทำในรูปแบบจำเป็น ทำให้จิตมีกำลัง ถ้าจิตไม่มีกำลัง มันเหมือนมีดทื่อๆ เอามีดทื่อๆ ไปฟันต้นไม้ป๊อกๆๆ ไม่ได้เรื่อง ต้นไม้ไม่สะเทือน แต่จิตมันมีสมาธิ มันมีกำลัง มันเหมือนมีดที่ลับไว้คมแล้ว เหมือนพร้าอะไรอย่างนี้ ฟันฉับเดียว ฟันอะไรก็ขาดสะบั้นเข้าไปตรงนั้น อีกหน่อยมันจะไปฟันอาสวกิเลส ฟันขาด อาสวะที่มันห่อหุ้มจิตอยู่ จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 23 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640523 ซีดีแผ่นที่ 90

Direct download: 640523.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

เรามีสติรักษาจิตของตัวเองไว้ให้ดี การรักษาจิตนั้น อาศัยสติรักษา ไม่ใช่เรารักษา สติทำหน้าที่อารักขา สติเป็นผู้รักษาจิต ถ้าเรามีสติรักษาจิตอยู่ อกุศลที่มีอยู่มันจะดับ อกุศลใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ในขณะที่มีสติ การที่เรามีสติรักษาจิตนั้น จิตมันจะเป็นกุศลอัตโนมัติ พอเรามีสติเนืองๆ กุศลมันก็เจริญขึ้นมา งอกงามขึ้นมาเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นวิมุตติ หัดสังเกตจิตใจตนเองเนืองๆ หัดดู หัดรู้สึกจิตใจของตัวเองไป การดูจิตไม่ได้เอาตาไปดู จิตเป็นนามธรรมเรารู้ด้วยใจ นามธรรมทั้งหลายไปรู้ด้วยรูปไม่ได้ ตามันเป็นรูปไปดูนามธรรมไม่เห็น เรารู้ด้วยใจของเรา จิตมันสุข จิตมันทุกข์เราก็รู้เอา จิตมันดี จิตมันชั่ว เราคอยรู้เอา -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 22 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640522 ซีดีแผ่นที่ 90

Direct download: 640522.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

สิ่งที่ศาสนาพุทธตอบโจทย์ก็คือ ทำอย่างไรจะไม่ทุกข์ การหาคำตอบว่าทำอย่างไรจะไม่ทุกข์ คนทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายก็แสวงหา บางคนก็มองแค่ว่ามีกินมีใช้ ไม่เจ็บป่วยอะไรอย่างนี้ก็ไม่ทุกข์ พอเราได้รับความมั่นคงระดับพื้นฐานแล้ว มีกินมีใช้ มีที่อยู่อาศัยอะไรอย่างนี้ บางคนก็ยังทุกข์อีก ที่จริงก็คือทุกคนก็ยังทุกข์อยู่อีก มีแต่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะตอบโจทย์ ให้ทุกคนสามารถจะมีชีวิตอยู่โดยไม่ทุกข์ได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 16 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640516 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640516.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 5:00pm +07

เราฝึกไปเรื่อยๆๆ รักษาใจของเราไว้ให้ดี ถ้าเรารักษาใจของเราดี เวลาเราเจอครูบาอาจารย์ ธรรมะที่ท่านถ่ายทอดให้ก็จะประณีต หรือบางทีเราไม่ได้เจอครูบาอาจารย์นานๆ หลายเดือนหรือเป็นปี เวลาเราภาวนาจิตเราสงบตั้งมั่น คอยรู้เนื้อรู้ตัว มีสติรักษาจิตอยู่เนืองๆ ตรงไหนที่ติดขัด ธรรมะจะถ่ายทอดมาสู่จิตของเราได้ จิตของพระ จิตของครูบาอาจารย์ เหมือนสถานีวิทยุ มันแผ่กระแสธรรม แผ่กระแสเมตตาออกไปครอบโลก ครอบจักรวาลอยู่แล้ว อยู่ที่ใครจะรับได้ ถ้ายังมีบุญอยู่ก็รับได้ หรือมีการปฏิบัติที่ดี มันก็รับได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 15 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640515 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640515.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ภาวนา เราค่อยๆ สังเกตไป มันมีธรรมะอยู่คู่หนึ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ คือเรื่องจิตกับอารมณ์เป็นของคู่กัน จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ฉะนั้นเราค่อยๆ ฝึก อยู่ๆ เราจะเห็นจิตใจตัวเอง มันก็เห็นไม่ได้ จะรู้ทันอารมณ์มันก็ไม่ค่อยรู้ ส่วนใหญ่มันถูกอารมณ์ย้อม ถูกอารมณ์ครอบงำ อารมณ์ที่เราจะใช้ในการปฏิบัติ ก็คือพวกรูปธรรมกับนามธรรม ส่วนอารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด ใช้อะไรไม่ได้ มันฟุ้งซ่าน แต่ห้ามมันคิดก็ห้ามไม่ได้หรอก ถ้ามันจะคิดเราก็รู้ทัน จุดสำคัญ รู้รูปธรรมนามธรรม อันนี้เป็นของถูกรู้ แล้วจิตมันเป็นคนรู้รูปธรรมนามธรรม -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 9 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640509 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640509.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 640508_T1_.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00pm +07

พอจิตมันเป็นผู้รู้แล้ว ถึงจะเดินปัญญาได้จริง ถ้าจิตมันไม่ตั้งมั่น มันเดินปัญญาไม่ได้จริงหรอก มันฟุ้งซ่าน ที่หลวงพ่อสอนมาตลอดตั้งแต่อยู่สวนโพธิ์ บอกไม่เผลอกับไม่เพ่ง ฟังแล้วดูตลก กรรมฐานอะไร บอกไม่เผลอกับไม่เพ่ง ที่จริงมันคือการปรับพื้นฐานของสมาธินั่นเอง สมาธิไม่มี ใจฟุ้งซ่าน เผลอไป สมาธิไม่ถูกต้อง เพ่งเอาไว้เคร่งเครียด ตรงที่ใจฟุ้งซ่านนั้นเราไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ ตรงที่เราเพ่งไว้เคร่งเครียด เรารู้กาย เรารู้ใจได้ แต่เราไม่สามารถจะเห็นความจริงของกายของใจได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 8 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640508 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640508.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

เราเห็นทุกข์เห็นโทษ เห็นความน่าเบื่อหน่าย อยากหนี แต่หนีไม่ได้ จะหนีจากกาย จะหนีจากใจ มันหนีได้ที่ไหน พอหนีไม่ได้ เราพยายามดูต่อไป อดทนเอา ตรงนี้หลายคนก็ผ่านไม่ไหว เห็นมันเบื่อเลยเลิกปฏิบัติไปเลย เห็นแต่ทุกข์เห็นแต่โทษ ทำไมชีวิตไม่รื่นเริงเหมือนชาวบ้านเขาบ้าง อดทนไว้ อย่าถอย มันเป็นทางผ่าน มันเป็นด่าน เป็นกับดักอันใหญ่ที่จะดักเราไม่ให้ก้าวต่อไป หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 2 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640502 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640502.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

สิ่งที่เรียกว่าสภาวธรรม ก็คือรูปธรรมกับนามธรรมเท่านั้น มี 2 อย่างรูปธรรม นามธรรม สภาวธรรมมีอีกอย่างหนึ่ง คือนิพพาน ปุถุชนไม่เห็น ฉะนั้นยังไม่ต้องสนใจ ถ้าสนใจตัวรูปธรรม ตัวนามธรรม ดูรูปธรรม นามธรรมเรื่อยๆ จนมันเห็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์คือความจริง รูปธรรม นามธรรมเป็นของจริง ส่วนเรื่องราวที่คิดเป็นบัญญัติไม่ใช่ของจริง เราดูของจริง คือดูรูปธรรม ดูนามธรรม แต่ต้องดูจนเห็นความจริงคือไตรลักษณ์ ฉะนั้นสิ่งที่ต้องการเห็นจริงๆ คือไตรลักษณ์ของรูปธรรม นามธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 1 พฤษภาคม 2564 ไฟล์ 640501 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640501.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

วันใดภาวนาจนถึงจุดที่มันไม่ยึดถืออะไร มันก็ไม่มีภาระอะไร มันก็ไม่มีทุกข์อะไรเลย ที่สุดของการปฏิบัตินั้น อยู่ที่เราไม่ทุกข์อีกต่อไปแล้ว สิ่งเหล่านี้มีอยู่ อยู่ที่ว่าเราจะทำหรือไม่ทำ ถ้าเราอดทน เรียนรู้ตัวเองเรื่อยๆ ไป ธรรมะไม่ต้องเรียนที่อื่น เรียนที่ตัวเอง อย่างพวกเราบางคนกังวล ว่าไม่ได้เจอหลวงพ่อแล้วจะไม่ได้ปฏิบัติ ไม่จริงหรอก เพราะว่าจริงๆ ธรรมะอยู่ที่ตัวเราเอง ถ้าหากเราเป็นนักปฏิบัติจริงๆ เราจะไม่รู้สึกว่าเราอยู่ไกลครูบาอาจารย์ แต่เราจะรู้สึกว่าครูบาอาจารย์อยู่กับเราทั้งวันเลย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 30 เมษายน 2564 ไฟล์ 640430 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640430.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แล้วเราจะดูจิตได้อย่างไร อาศัยสติ อาศัยสมาธินั่นล่ะก็เห็นการทำงานของจิต อย่างเห็นจิตมันตรึกคือมันคิดขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องที่คิด เห็นอาการที่จิตคิด พอเห็นอย่างนี้เท่านั้นเอง จับหลักได้แล้ว จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ จิตอยู่ในกายนี้ ไม่เกินกายออกไป จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 25 เมษายน 2564 ไฟล์ 640425 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640425.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ส่วนใหญ่เท่าที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยบอกมา พวกฆ่าตัวตายตกนรก ไม่มีข้อยกเว้นว่าใครฆ่าตัวตาย ไม่มีข้อยกเว้นว่าถ้าคนระดับนี้ฆ่าตัวตายไม่ตกนรก ส่วนใหญ่ฆ่าตัวตายก็ต้องรับกรรม ตกนรกไป บางทีมีชีวิตอยู่มีความทุกข์ มีความทุกข์ก็ไปฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตายเสร็จแล้วมันก็เดินร้องไห้ไปเรื่อยๆ มันตกนรกแล้วล่ะ แต่นรกนั้นมันไม่ได้ถูกใครขัง นรกมันอยู่ที่จิตของตัวเอง สร้างภพตายซ้ำตายซากอยู่อย่างนั้น วนๆๆ แล้วฆ่าตัวตายซ้ำๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ฉะนั้นมันไม่มีข้อดีให้กับใครหรอก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 24 เมษายน 2564 ไฟล์ 640424 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640424.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่หลงอารมณ์ ตั้งมั่นอยู่เหนืออารมณ์ เหมือนดูมาจากที่สูง ยืนอยู่บนตึก เห็นรถวิ่งไปวิ่งมาอยู่ในถนน ตัวไม่หล่นลงไปอยู่ในถนน รถไม่ได้มีคันเดียวใช่ไหม เดี๋ยวคันนั้นมา เดี๋ยวคันนี้มา เปลี่ยนไปเรื่อยๆ สมาธิของพระพุทธเจ้า จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ไม่ใช่สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ถ้าเราแยกแยะไม่ออก ก็ไม่เข้าใจหรอก ทำไมทำสมาธิแล้วไม่ได้มรรคผล ทำไมสมาธิของพระพุทธเจ้าได้มรรคได้ผล ก็ต้องค่อยๆ ฝึกเอา ค่อยๆ สังเกตเอา ถ้าเราให้ความสำคัญกับอารมณ์เป็นหลัก เราจะได้สมาธิชนิดสงบ ถ้าเราให้ความสำคัญกับจิตใจของตนเอง เราจะได้สมาธิชนิดตั้งมั่น -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 18 เมษายน 2564 ไฟล์ 640417 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640418.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

สติสำคัญมาก ขาดสติคือขาดการปฏิบัติ มีสติคือมีการปฏิบัติ จะทำสมถะก็ต้องมีสติ จะทำวิปัสสนาก็ต้องมีสติ แต่ทำวิปัสสนาก็ต้องสติบวกปัญญา บวกสมาธิ บวกปัญญาเข้าไป ถ้าเราขาดสติตัวเดียว ก็ไม่ได้ภาวนาแล้ว หลง ลืม จุดเริ่มต้นที่เราจะฝึกกัน ฝึกให้มันมีสติไว้ หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ยืน เดิน นั่ง นอน รู้สึกตัวไป เคลื่อนไหว หยุดนิ่ง รู้สึกตัวไป ถ้าขาดความรู้สึกตัว ขาดสติ ให้เรารู้สึกตัวเนืองๆ ฝึกทุกวันๆ เวลาต้องการให้จิตสงบ ให้จิตได้พักผ่อน หรือจะฝึกให้จิตตั้งมั่น คือเรื่องของการฝึกสมาธิทั้งหลาย ก็ต้องอาศัยสติ พระพุทธเจ้าถึงสอนสติปัฏฐาน สติปัฏฐานในเบื้องต้นนั้นเป็นไปเพื่อความมีสติ สติปัฏฐานในเบื้องปลายเป็นไปเพื่อความมีปัญญา ฉะนั้นในสติปัฏฐานนี้ครอบคลุม ทั้งสมถกรรมฐานทั้งวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการฝึกสติ -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 17 เมษายน 2564 ไฟล์ 640417 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640417.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 7:00pm +07

เฝ้ารู้เฝ้าดูของจริงอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเป็นกายนี่เป็นปัจจุบันขณะ นามธรรมก็เป็นปัจจุบันสันตติ คือสืบเนื่องกับปัจจุบัน ดูไป พอเราเห็นรูปธรรม เห็นนามธรรมแล้ว แค่นี้ไม่พอ ตรงที่เราเห็นรูปธรรม-นามธรรม ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา จะต้องเห็นไตรลักษณ์ เห็นความจริงของรูปธรรม-นามธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 11 เมษายน 2564 ไฟล์ 640411 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640411.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

การปฏิบัติมี 3 แนวทางหลักๆ ใช้สมาธินำปัญญา ใช้ปัญญานำสมาธิ ใช้สมาธิและปัญญาควบไปด้วยกัน ฉะนั้นเวลาเราไปเจอครูบาอาจารย์ องค์นี้ท่านสอนอย่างนี้ เรา เอ๊ะ ทำไมสอนไม่เหมือนองค์นี้อะไรอย่างนี้ ก็สอนกันคนละเรื่อง สอนคนละเส้นทาง ท่านมาทางไหนท่านก็ชอบสอนทางนั้น ถนัดอย่างไรก็สอนอย่างนั้น ฉะนั้นถ้าเราภาวนาเป็นเราก็จะไม่สงสัย เราฟังเราก็เข้าใจ แต่ถ้าเราเรียนของเราแคบๆ ก็ไม่เข้าใจของคนอื่น -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 10 เมษายน 2564 ไฟล์ 640410 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640410.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 5:00pm +07

ดูจริตนิสัยเรา ถ้าเราเป็นพวกโลภมาก อยากมาก เรียกว่าตัณหาจริต สติปัฏฐานที่เหมาะกับพวกตัณหาจริตก็คือ ดูกายหรือเวทนา ถ้าพวกเจ้าความคิดเจ้าความเห็น เรียกว่า พวกทิฏฐิจริต สิ่งที่เหมาะสมก็คือจิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา อุบายในการปฏิบัตินี่หลากหลาย นับจำนวนไม่ถ้วน เรียกกุศโลบาย อุบายที่ฉลาดในการฝึกกรรมฐาน อุบายนั้นทางใครทางมัน แต่หลักของการปฏิบัติมีทางเดียวที่พระพุทธเจ้าสอน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ไม่มีทางที่สอง แต่ในอริยมรรคแต่ละตัวๆ มันก็มีวิธีที่จะพัฒนาขึ้นมา อย่างสัมมาสติทำอย่างไรเราจะเกิดสติ บางคนเกิดสติเพราะเจริญกายานุปัสสนา บางคนเกิดสติเพราะเจริญเวทนานุปัสสนา บางคนเกิดสติเพราะเจริญจิตตานุปัสสนา บางคนก็ขึ้นธัมมานุปัสสนา พอสติถูกต้อง สมาธิที่ถูกต้องก็เกิด ถ้าได้สัมมาสติเมื่อไหร่ ก็ได้สัมมาสมาธิควบกันมาอย่างนั้น แล้วทำให้มาก เจริญให้มาก ต่อไปก็สัมมาญาณะ ความรู้ถูกความเข้าใจถูกก็เกิดขึ้น มีความรู้ถูก มีความเข้าใจถูกเกิดขึ้น ก็เกิดสัมมาวิมุตติ เกิดมรรคเกิดผล -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 4 เมษายน 2564 ไฟล์ 640404 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640404.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

สนามรบของนักปฏิบัติมีอยู่ 4 แห่ง คือกาย เวทนา จิต ธรรม วิหารธรรม 4 อย่างนี้มีความหยาบ ความละเอียดที่แตกต่างกัน เวลาเราจะทำสงครามเราต้องรู้จักเลือกชัยภูมิ ว่าชัยภูมิอันไหนที่เราได้เปรียบ ไม่ใช่นึกจะรบตรงไหนก็ไปรบ อันนั้นโง่ ชัยภูมิในการรบของเราก็คือกาย เวทนา จิต ธรรมนี้ แล้วเราจะเลือกอย่างไร ถ้าสติ สมาธิเดิมของเราหยาบ ไม่ค่อยมีสติ ไม่ค่อยมีสมาธิ เราก็ต้องใช้อารมณ์กรรมฐานที่หยาบ เลือกสมรภูมิที่หยาบๆ ถ้าสติ สมาธิของเรามันสะสมมาดีแล้ว เราก็เลือกสมรภูมิ เลือกชัยภูมิที่ละเอียด คือทำกรรมฐานอย่างละเอียดได้ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นกรรมฐานที่ตั้งแต่หยาบที่สุด จนถึงละเอียดที่สุด หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 3 เมษายน 2564 ไฟล์ 640403 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640403.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

บางคนก็เริ่มต้นดูกาย บางคนก็เริ่มต้นดูเวทนา บางคนก็เริ่มต้นดูจิต ทางใครทางมัน แต่ในสุดท้ายไม่ว่าจะดูกาย เวทนา หรือจิต หรือธรรม สุดท้ายมันก็ลงไปที่เดียวกัน เข้าไปสู่วิมุตติอันเดียวกัน เข้าไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นอันเดียวกัน เข้าไปสู่พระนิพพานก็อันเดียวกัน มันเป็นสภาวะที่เหมือนกัน คล้ายๆ คนขึ้นภูเขา ทางขึ้นภูเขาก็อยู่รอบทิศทาง บางช่วงเป็นหน้าผา คนที่ชอบปีนหน้าผามันมี ให้มันเดินราบๆ ไปมันไม่เอา บางคนมีเงินมาก บารมีมาก ขึ้นเฮลิคอปเตอร์แป๊บเดียวถึงยอดเขาเลย บางคนไม่อยากเป็นอย่างนั้น อยากเดินชมวิว ชมต้นไม้ ชมนก ค่อยๆ เดิน แต่ละคนมันไม่เหมือนกัน บางคนให้สบาย มันไม่ชอบ มันต้องอะไรที่ลำบากๆ มันถึงจะชอบ ใจมันถึงจะลง เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นเทคนิคเฉพาะตัว เส้นทางนี้เป็นเรื่องเฉพาะตัว เป้าหมายอันเดียวกัน แต่วิธีการทำนี่หลากหลายมาก -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 28 มีนาคม 2564 ไฟล์ 640327 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640328.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

วันๆ หนึ่งเรามองคนอื่นมากกว่ามองตัวเอง ฉะนั้นก็เห็นแต่คนอื่น มันไม่เห็นตัวเอง เห็นคนอื่นแล้วใจของเรามันมีกิเลส มันก็เห็นคนอื่นในมุมที่ตัวเองอยากเห็น ชอบขึ้นมาก็มองว่าเขาดี ไม่ชอบขึ้นมาก็เขาเลว มองอย่างที่ตัวเองอยากมอง ส่วนของจริงคือรูปธรรมนามธรรมนี้ มันอยู่กับเรามาแต่ไหนแต่ไร อาศัยพระพุทธเจ้าชี้ให้เราย้อนกลับมาดู “โอปนยิโก” ย้อนกลับเข้ามาดูตัวเอง ฉะนั้นเราก็หัดมาสนใจตัวเอง ไม่ต้องสนใจคนอื่นมากนัก ไม่ต้องไปจับผิดคนอื่น มาจับผิดตัวเอง ลองย้อนกลับมาทำตัวเองให้มันดีเสียก่อน ย้อนกลับมาฝึกตัวเองให้มันดีเสียก่อน ค่อยวิจารณ์คนอื่นก็ได้ ไม่สายไปหรอก ย้อนมาดูตัวเอง หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 27 มีนาคม 2564 ไฟล์ 640327 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640327.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

การภาวนามันมี 2 ส่วน ส่วนของสมถกรรมฐานกับส่วนของวิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐาน มีหลักง่ายๆ นิดเดียว อยากให้จิตสงบมีเรี่ยวมีแรง ก็อย่าให้จิตมันฟุ้งซ่านไป เราเลือกอารมณ์ที่เราอยู่ด้วยแล้วมีความสุข มีความสงบ สบายใจอยู่กับอารมณ์อันไหน เราก็อยู่กับอารมณ์อันนั้น พอเราอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข มีความพอใจ จิตใจก็ไม่หิวอารมณ์ เที่ยววิ่งร่อนเร่ไปเรื่อยๆ มันก็มีความสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว การทำวิปัสสนากรรมฐาน ขั้นแรกต้องหัดเห็นสภาวธรรมก่อน เพราะวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการเห็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม ขั้นแรกเลยก่อนที่จะถึงวิปัสสนา เราต้องแยกขันธ์ให้ได้ แยกธาตุแยกขันธ์ให้ออก ทีแรกหัดรู้ตัวสภาวะไป พอเห็นสภาวะทั้งหลายมันแยกออกไปจากจิตที่เป็นคนรู้ เรียกว่าเราเริ่มแยกขันธ์ ทีแรกเห็นตัวสภาวะแต่ละตัวๆ ที่เกิดขึ้น แล้วเห็นทุกๆ ตัวนั้นถูกรู้ถูกดู แล้วต่อไปก็ดูเขยิบขึ้นไป ทุกๆ ตัวนั้นตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ กระทั่งตัวจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ เพราะว่าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ผู้รู้ก็ไม่เที่ยง ผู้รู้เกิดแล้วก็ดับ ผู้คิดเกิดแล้วก็ดับ เฝ้าดูไปเรื่อยๆ สุดท้ายมันจะเห็นเลยว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา -- หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 21 มีนาคม 2564 ไฟล์ 640321 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640321.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

“มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง” คำว่าตามความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ เพราะความจริงของรูปนามคือไตรลักษณ์ ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ก็เรียกว่ายังไม่ได้ทำวิปัสสนา ฉะนั้นประโยคสั้นๆ นี้ล่ะที่หลวงพ่อรวมมาจาก หลักการปฏิบัติที่กว้างขวางมากมาย ถ้าพวกเราตีความตรงนี้แตก พวกเราทำวิปัสสนาได้แน่นอน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 20 มีนาคม 2564 ไฟล์ 640320 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640320.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

คนที่ไม่ปฏิบัติพอมันเกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดดี เกิดชั่ว มันไปสนใจของข้างนอก สนใจรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สนใจเรื่องราวที่คิดนึกเอา มันไม่สนใจตัวเอง ไม่สนใจที่จะอ่านตัวเอง อ่านว่าจิตใจตอนนี้เป็นอย่างไร พอไม่สนใจก็คือไม่ได้ปฏิบัติแล้ว ไม่ได้เรียนรู้กาย ไม่ได้เรียนรู้ใจ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 14 มีนาคม 2564 ไฟล์ 640314 ซีดีแผ่นที่ 89

Direct download: 640314.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00pm +07

1 « Previous 11 12 13 14 15 16 17 Next » 67