เราฝึกมีสติอยู่ในชีวิตของเรานี้ล่ะ จิตใจของเราเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง คอยรู้สึกไปเรื่อยๆ แล้วมันจะรู้ได้เร็วขึ้นๆ ทีแรกโกรธแรงๆ ถึงรู้ ต่อไปขัดใจเล็กๆ ก็เห็นแล้ว ทีแรกก็เริ่มต้นเล็กๆ น้อยๆ นี้ล่ะจุดเริ่มต้น ต่อไปมันก็เชี่ยวชาญขึ้น เก่งขึ้น เหมือนกิเลสเหมือนกัน ก่อนที่กิเลสจะตัวใหญ่ ก็กิเลสตัวเล็กมาแล้ว แล้วเรารู้ไม่ทัน กิเลสก็ขยายตัวขึ้น จนกระทั่งครอบจิตใจเราได้ ฉะนั้นเราคอยอ่านจิตอ่านใจตัวเอง เรียกว่าเราปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา อ่านใจตัวเองไปเรื่อยๆ แล้วถ้าช่วงไหนจิตใจเราฟุ้งซ่าน อ่านใจตัวเองไม่ออก ถ้าอ่านใจตัวเองไม่ออก ให้รู้สึกร่างกายไว้ ถ้าเราปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ เราจะพัฒนาเร็วมากเลย ถ้าเก่งเฉพาะทำในรูปแบบ นั่งสมาธิ เดินจงกรม เก่งตอนนั้น อยู่ในชีวิตประจำวันปฏิบัติไม่เป็น อ่านจิตอ่านใจไม่ออก รู้สึกกายไม่เป็น ยังไกล หลวงปู่มั่นท่านสอน หลวงพ่อฟังมาจากหลวงปู่สุวัจน์ ตอนท่านไปเรียนกับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นสอนบอกว่า “ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตไม่ได้ ดูกายไม่ได้ ให้ทำสมถะ ทำสมาธิไป” ทำสมาธิ มันจะได้เกิดกำลัง กลับไปดูจิตได้ ค่อยๆ ฝึกอย่างนี้ แล้วท่านก็สอน สรุป บอกว่า “หัวใจของการปฏิบัติ ตัวสำคัญที่สุด คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน” นั่งสมาธิเก่ง เดินจงกรมเก่ง แต่เจริญสติในชีวิตประจำวันไม่เป็น กิเลสลากไปกินทั้งวันเลย แล้ววันหนึ่งก่อนนอน 1 ชั่วโมงไปนั่งสมาธิ ก็หลงมา 20 ชั่วโมงแล้ว ไปนั่งสมาธิชั่วโมงหนึ่ง สู้กันไม่ไหว ฉะนั้นเราอย่าละเลยการเจริญสติในชีวิตประจำวัน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 8 เมษายน 2566

Direct download: 660408.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

เวลาเราภาวนา เราก็สังเกตจิตใจของเราไป เราจะพบว่าจิตใจของเราแต่ละวันไม่เหมือนกันหรอก บางวันสงบ บางวันฟุ้งซ่าน บางวันกิเลสแรง บางวันกิเลสไม่แรง สังเกตไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ดู ค่อยๆ รู้ไป แต่ละวันจิตใจของเราไม่เคยเหมือนกันเลย แล้วเราก็บังคับไม่ได้ เขาสอนธรรมะเรา สอนความไม่เที่ยงให้เราเห็น วันนี้เป็นอย่างนี้ๆ มีแต่ความไม่เที่ยง แล้วก็เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ ค่อยๆ สังเกต แต่ละวันจิตเราไม่เหมือนกัน พอเราดูตรงนี้ออก เราก็มาสังเกตให้ละเอียดขึ้นไป ในวันเดียวกัน แต่ละช่วงเวลา จิตใจเราก็ไม่เหมือนกัน ตอนเช้า จิตใจเราแบบหนึ่ง ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเย็น ตอนค่ำ ตอนดึก วันเดียวกันแท้ๆ จิตใจเราก็ไม่ค่อยเหมือนกันแล้ว เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เราสังเกตตัวเอง เริ่มสังเกตหยาบๆ หัดสังเกตว่าแต่ละวันจิตใจเราไม่เหมือนกัน ต่อมาเราก็สังเกตได้ละเอียดขึ้น ในวันเดียวกัน แต่ละช่วงเวลา จิตใจเราไม่เหมือนกัน เราค่อยๆ ปฏิบัติ ทำสม่ำเสมอไป เราก็เห็นได้ประณีตขึ้น ทีแรกรู้หยาบๆ แต่ละวันจิตเราไม่เหมือนกัน ในวันเดียวกัน เช้า สาย บ่าย เย็น ไม่เหมือนกัน นึกถึงวันก่อนช่วงเวลาเดียวกัน แต่ละวัน จิตใจก็ไม่เหมือนกัน พอดูได้ละเอียด เราจะเห็นจิตใจเราเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ในช่วงเวลาเช้าๆ จิตก็เปลี่ยนไปตั้งเยอะตั้งแยะ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 2 เมษายน 2566

Direct download: 660402.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

พวกเราไม่มีพระพุทธเจ้ามาเร่งเร้าเราแล้ว ก็ต้องฝึกตัวเอง กระตุ้นตัวเอง คนที่อินทรีย์แก่กล้า มันกระตุ้นตัวเองได้ พวกอินทรีย์อ่อนๆ พอห่างครูบาอาจารย์ไปแล้วใจก็ฝ่อ ขี้เกียจปฏิบัติ ไปเพลินๆ อยู่กับโลก ฉะนั้นนักปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะมีเพื่อน เป็นเพื่อนที่ปฏิบัติด้วยกัน เรียกโก้ๆ ว่ามีกัลยาณมิตร อย่างเวลาเราภาวนา เรามีเพื่อนไปหาครูบาอาจารย์ด้วยกัน ไปฟังด้วยกัน แล้วก็มาลงมือปฏิบัติ เวลาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งท้อแท้ใจ อีกฝ่ายหนึ่งก็กระตุ้นเร่งเร้า มันท้อได้ไม่นาน ถ้าเรามีเพื่อนร่วมทางที่ดี แต่ถ้าเพื่อนร่วมทางไม่ดี อย่ามีดีกว่า ไปคนเดียวดีกว่า พระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่า ถ้าเราไม่มีเพื่อนร่วมทางที่ดีกว่าเรา หรือเสมอกับเรา ไปคนเดียวดีกว่า พวกไม่เอาไหนมันถ่วงเรา ทำให้เราขี้เกียจปฏิบัติ หรือท้อใจที่จะปฏิบัติ การมีเพื่อนร่วมทางที่ดี มันหนุน มันเสริมซึ่งกันและกัน เวลาคนหนึ่งขี้เกียจ อีกคนหนึ่งขยันอยู่ กระตุ้นกัน โอ๊ย เราจะขี้เกียจได้อย่างไร เพื่อนเราเขายังภาวนาเข้มแข็งอยู่เลย แล้วเราจะมาขี้เกียจอยู่ ไม่ได้เรื่อง การจะหาเพื่อนร่วมทาง ก็ต้องเลือกให้ดี หลักก็คือหาคนที่ดีกว่าเรา มีศีล มีธรรม หรือเสมอกันอย่างต่ำ ฉะนั้นเพื่อนสำคัญในชีวิตเรา คู่ชีวิตเรา แต่ละคนก็มี มีสามี มีภรรยา ถ้า เราได้สามี ได้ภรรยาที่เสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีทิฏฐิ ความคิดความเห็นเสมอกัน ดีด้วยกัน ก็พากันไป ก้าวหน้ากันไป อันนั้นเรียกว่าเรามีเพื่อนร่วมทางที่ดี หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 1 เมษายน 2566

Direct download: 660401.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660324.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 2:00pm +07

การปฏิบัติธรรมถ้าเราทำสมถะ สมถะไม่เลือกอารมณ์ อารมณ์อะไรก็ได้ สิ่งที่เรียกว่าอารมณ์ หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ อารมณ์เป็นของที่คู่กับจิต เมื่อไรมีจิตเมื่อนั้นมีอารมณ์ เมื่อไรมีอารมณ์เมื่อนั้นก็ต้องมีจิต ของคู่กัน เรื่องของสมถะไม่ใช่มีแค่เรื่องเข้าฌาน ไม่ได้แคบแค่นั้นหรอก สมถกรรมฐานในตำราเขาบอกไว้ว่าใช้อารมณ์อะไรก็ได้ อารมณ์บัญญัติ คือเรื่องราวที่คิดก็ได้ อย่างคิดเรื่องปฏิกูลเรื่องอสุภะ คิดพิจารณาร่างกาย คิดอะไรนี้ เป็นเรื่องคิดทั้งนั้น หรือคิดพิจารณาชีวิต พิจารณาซากศพ เป็นเรื่องคิดเอา ไม่มีสภาวธรรมรองรับ เรียกว่าอารมณ์บัญญัติ ก็ใช้ทำสมถะได้ อารมณ์รูปธรรมก็ใช้ทำสมถะได้ อย่างหายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก ลมหายใจเป็นรูป เดินจงกรม เห็นร่างกายมันเดินแล้วคอยรู้สึกไว้ จิตไม่วอกแวกไปที่อื่น นี่ก็เป็นสมถะ เห็นท้องพองเห็นท้องยุบจิตไม่หนีไปที่อื่น อันนี้ก็เป็นสมถะ ใช้รูปก็ได้ ใช้นามก็ได้ ทำสมถะ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 26 มีนาคม 2566

Direct download: 660326.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ถ้าเราสามารถเห็นความจริงของกายของใจได้ ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นมุมใดมุมหนึ่งก็พอแล้ว มันก็จะปล่อยวาง เหมือนที่พระพุทธเจ้าบอก “เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ เพราะคลายความยึดถือจึงหลุดพ้น ปล่อยวางได้” เราจะสามารถเห็นความจริงของกายของใจได้ จิตเราต้องตื่น ถ้าจิตเราไปหลงอยู่ในโลกของความคิดความฝัน มันก็ไม่เห็นกายเห็นใจ มีกายลืมกาย มีใจลืมใจ เพราะฉะนั้นความรู้สึกตัว เป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญที่สุดเลยสำหรับการปฏิบัติ พวกเราต้องรู้สึกตัวให้ได้ หลุดออกจากโลกของความฝัน มาอยู่ในโลกของความจริงให้ได้ มีกายก็ให้รู้สึกว่ามันมีร่างกาย มีจิตใจก็รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิตใจ ไม่ใช่มีกายก็ลืม มีใจก็ลืม คิดฝันเพ้อเจ้อตลอดเวลา ถ้าเราสามารถรู้สึกกายรู้สึกใจได้ เราก็จะสามารถเรียนรู้ ความจริงของร่างกายของจิตใจได้ ว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 25 มีนาคม 2566

Direct download: 660325.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

การเจริญสติปัฏฐานเป็นการที่เรามีความเพียร คอยระลึกรู้กาย ระลึกรู้เวทนา คือความรู้สึกสุขทุกข์ ระลึกรู้จิตที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล ระลึกรู้สภาวธรรมที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นรูปธรรมบ้าง เป็นนามธรรมบ้าง แล้วก็สูงสุดเลย ก็คือเรียนรู้กระบวนการของจิต ที่สร้างความทุกข์ขึ้นมาแผดเผาตัวเอง อันนั้นก็คืออริยสัจ หรือปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน 4 มันเหมือนประตูเมือง 4 ทิศ ไม่ว่าเราจะเข้าทางทิศไหน สุดท้ายมันก็เข้าเมืองได้ เพราะฉะนั้นสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่ว่าอันนั้นดีกว่าอันนี้ อันนี้ดีกว่าอันนั้น ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าแจกแจงเอาไว้ตั้ง 4 อย่าง เพราะว่าจริตนิสัย วาสนาบารมีของพวกเรามันไม่เท่ากัน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 18 มีนาคม 2566

Direct download: 660318.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660310.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660306B.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 660305.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

ถ้าเรารู้ลงไป กิเลสเกิดหรือกุศลเกิดก็ตามเถอะ หรือร่างกายเคลื่อนไหวอยู่ รู้สึก สุข ทุกข์เกิด รู้สึก ดี ชั่วเกิด รู้สึก ถ้าเรามีสติรู้ทัน มันจะไม่ปรุงตัณหาขึ้นมาหรอก เมื่อไม่ปรุงความอยากขึ้น ตามอำนาจของกิเลส จิตใจก็จะไม่ดิ้นรนปรุงแต่ง จิตใจเราก็พ้นจากความปรุงแต่ง บางทีพ้นชั่วคราว ถ้าอย่างเรายังทำอยู่อย่างนี้ ก็พ้นชั่วคราว แต่มันจะพ้นถาวรได้ ถ้ารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ รู้แจ้งแทงตลอดในขันธ์ 5 ถ้ารู้แจ้งแทงตลอดแล้ว ขันธ์ 5 ทั้งหมดตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ ตัณหาจะไม่เกิดอีก ความปรุงของจิตจะไม่มี จิตก็จะพ้นจากความปรุงแต่งไป หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 12 มีนาคม 2566

Direct download: 660312.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

สติปัฏฐานนี้จะบริบูรณ์ได้ ถ้ามีสัมมาวายามะเนืองๆ สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ อกุศลเกิดขึ้นรู้ทัน อกุศลก็ดับไป ในขณะที่มีสติอยู่ อกุศลใหม่ก็ไม่เกิด ในขณะที่มีสตินั้น กุศลได้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะที่สติเกิดบ่อยๆ กุศลก็จะเจริญขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะทำสัมมาสติได้บริบูรณ์ ต้องทำสัมมาวายามะให้บริบูรณ์ มีสติรู้ทันจิตตัวเองไป แล้วอกุศลที่มีอยู่จะดับ อกุศลใหม่จะไม่เกิด กุศลที่ยังไม่เกิดก็จะเกิด ที่เกิดแล้วก็จะงอกงามพัฒนาขึ้นไป จนถึงกุศลสูงสุด สิ่งที่เรียกว่ากุศลขั้นสูงสุด คือปัญญา ในบรรดากุศลทั้งหลาย ปัญญาเป็นกุศลสูงสุด พอมีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง จึงเบื่อหน่าย คลายความยึดถือ หลุดพ้น หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 11 มีนาคม 2566

Direct download: 660311.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 4:00pm +07

Direct download: 660217.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 650617.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651207.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651205.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

Direct download: 651011.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00pm +07

Direct download: 650930.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

พระพุทธเจ้าท่านเคยบอกว่า “กัลยาณมิตร เป็นเครื่องหมายแรกของอริยมรรค” เหมือนกับแสงเงินแสงทองตอนเช้ามืด ถ้าแสงเงินแสงทองขึ้นตรงไหน สว่างขึ้นด้านไหน เป็นเครื่องหมายแรกว่า พระอาทิตย์กำลังจะขึ้นตรงนั้น การมีกัลยาณมิตร ก็เป็นเครื่องหมายแรกของการบรรลุอริยมรรค ท่านสอนอย่างนี้ แล้วต่อมาท่านก็สอนอีก “โยนิโสมนสิการ เป็นเครื่องหมายแรกของอริยมรรค” เหมือนแสงเงินแสงทองขึ้นมา แล้วพระอาทิตย์จะขึ้นตรงนี้ ถ้าเรามีโยนิโสมนสิการ ถึงวันหนึ่งอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น ฉะนั้นใน 2 สิ่งนี้มีความสำคัญมาก คือกัลยาณมิตรกับโยนิโสมนสิการ แต่ วันนี้พิสูจน์ยากว่าใครคือกัลยาณมิตร สิ่งที่หลวงพ่อแนะนำพวกเราคือโยนิโสมนสิการ ปลอดภัยที่สุด โยนิโสมนสิการบอกแล้วไม่ใช่การพิจารณา ใคร่ครวญเอาตามใจกิเลส ต้องดูว่ามันถูกหลักของการปฏิบัติหรือเปล่า หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 6 มีนาคม 2566

Direct download: 660306A.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

พอมีจิตที่ตั้งมั่นมากพอแล้วก็เดินปัญญา เดินปัญญาขั้นแรกก็คือการแยกขันธ์ เห็นร่างกายมันนั่งอยู่ จิตเป็นคนรู้ เห็นสุขทุกข์เกิดขึ้น จิตเป็นคนรู้ เห็นดีชั่วเกิดขึ้น จิตเป็นคนรู้ หัดแยกไป พอแยกขันธ์ชำนาญแล้ว ต่อไปมันจะเห็น แต่ละขันธ์นั้น ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงวันหนึ่งก็แจ่มแจ้ง ขันธ์ทั้งหมดเกิดแล้วดับทั้งสิ้น นี่คือภูมิธรรมของพระโสดาบัน และพระสกทาคามี ขันธ์ทั้งหลายในส่วนของรูปนี้เป็นตัวทุกข์ เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ มีแต่จิตเท่านั้น ยังเป็นที่พึ่งที่อาศัยได้ นี่เป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี แล้วขั้นสุดท้าย ขันธ์ทั้งหมดนั่นล่ะคือตัวทุกข์ พอภาวนามาถึงจุดนี้ มันจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ก็คือขันธ์ 5 นั่นล่ะคือตัวทุกข์ ฉะนั้นค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ฝึกไปจนกระทั่งวางขันธ์ได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 4 มีนาคม 2566

Direct download: 660304.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 5:00pm +07

นั่งสมาธิมากๆ แล้วก็มีแต่โมหะครอบ ไม่เรียกว่าความเพียรชอบ เดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ แต่ไม่ได้พัฒนาสติ ไม่มีสติก็คือไม่มีกุศลล่ะ เดินหามรุ่งหามค่ำ มันก็คืออัตตกิลมถานุโยค การทำตัวเองให้ลำบาก มันไม่ใช่ทางสายกลาง การที่เราคอยสังเกตจิตใจตัวเอง จะทำให้สัมมาวายามะเจริญขึ้น อกุศลใดๆ ที่มันมีอยู่ พอเราสังเกตเห็น อกุศลนั้นจะดับ แล้วขณะที่เรามีสติอยู่ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้ แล้วอย่างเรากำลังมีกิเลสอยู่ แล้วเราเกิดสติขึ้นมา ตรงที่มีสติ อกุศลดับ กุศลได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะสติมันเป็นองค์ธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่เป็นกุศลทุกๆ ดวง เพราะฉะนั้นทันทีที่เราเกิดสติ กุศลได้เกิดขึ้นแล้ว อกุศลได้ดับลงไปแล้ว แล้วถ้าสติเราเกิดบ่อยๆ กุศลเราก็เจริญขึ้น พัฒนางอกงามขึ้นเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา แก่รอบขึ้นมา สุดท้ายก็เข้าสู่โลกุตตระ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 26 กุมภาพันธ์ 2566

Direct download: 660226.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

นิพพาน คือสภาวะที่สิ้นตัณหา พอสิ้นตัณหาแล้วมันเป็นอย่างไร มันสงบ มันสันติ นิพพานมีสันติลักษณะ คือมันสงบ อย่างวัดนี้ชื่อวัดสวนสันติธรรม สิ่งที่เรียกว่า “สันติธรรม” คือนิพพาน แปลให้ออก ถ้าใครเขาถามว่า ลูกศิษย์วัดสวนสันติธรรม “สันติธรรม” คืออะไร คือพระนิพพาน นี่คืออุดมการณ์ของพวกเราชาววัดสวนสันติธรรม เราจะต้องนิพพานให้ได้ ไม่ชาตินี้ก็ชาติต่อๆ ไป นี่เป็นอุดมการณ์ที่เราตั้งวัดนี้ขึ้นมา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันสวนสันติธรรม 25 กุมภาพันธ์ 2566

Direct download: 660225.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

เรามีศีลเพื่อสู้กับราคะ โทสะ โมหะ อย่างหยาบ ไม่ให้มันมาควบคุมจิตใจ จนกระทั่งเราทำความชั่วทางกาย ทางวาจา แล้วเรามาฝึกจิตให้มีสมาธิตั้งมั่นขึ้นมา เพื่อข่มกิเลสอย่างกลางคือนิวรณ์ นิวรณ์เป็นกิเลสที่ขัดขวางคุณงามความดี เวลาจะทำความดี นิวรณ์เกิดขึ้นมันก็ไม่มีแรงทำแล้ว ส่วนกิเลสละเอียด คือความไม่รู้ทั้งหลาย อาศัยปัญญา ไม่มีตัวอื่นจะมาช่วยได้ ศีลก็ไม่ได้ทำให้หายโง่ สมาธิก็ไม่ได้ทำให้หายโง่ เพียงแต่ศีลนั้นเกื้อกูลให้เกิดสมาธิ สมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา แล้วปัญญาเป็นตัวทำให้หายโง่ ฉะนั้นพวกเราต้องฝึก พยายามฝึกตัวเองให้มันได้ครบทุกอย่าง ศีลต้องรักษา ทุกวันต้องทำในรูปแบบ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งที่เราคุ้นเคย แล้วคอยรู้ทันจิตตัวเอง เราโน้มน้อมไปดูกายแล้วก็เห็นไตรลักษณ์ เรียกโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัศนะ เห็นจิตใจมันทำงาน จิตเราเป็นคนดู ก็เห็นจิตมันทำงานได้ ตั้งมั่นอยู่ หายใจพุทโธๆๆ เดี๋ยวหนีไปคิดได้ เห็นมันทำงาน อย่างนี้ก็เป็นญาณทัศนะ ได้เห็นอย่างมีปัญญา ค่อยๆ ดูไปเรื่อยๆ สุดท้ายปัญญามันก็เกิด ปัญญาเกิดมันก็ล้างความเห็นผิด ล้างความเห็นผิดนั้น คือตัวปัญญาที่สำคัญ ปัญญาทำหน้าที่ล้างความโง่เขลา แล้วกิเลสตัวละเอียดถูกทำลายไป กิเลสอย่างกลางมันก็ถูกทำลายด้วย กิเลสอย่างหยาบมันก็ถูกทำลายไปด้วย เพราะฉะนั้นตัดลงที่จิตอันเดียวนี้ เห็นแจ้งลงที่จิตอันเดียว ก็ล้างหมดเลย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 31 ธันวาคม 2565

Direct download: 651231.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

วิปัสสนาคือการเห็น ปัสสนะ แปลว่าการเห็น ตรงตัวเลย วิ แปลว่าแจ้ง คือเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เราเห็นกายถูกต้องตามความเป็นจริง คือเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ เห็นจิตถูกต้องตามความเป็นจริง ก็คือเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ เราจะเห็นตามความเป็นจริงได้ จิตต้องไม่หลงไปอยู่ในโลกของความคิด มิฉะนั้นผิดทันที จิตต้องตื่น ตื่นขึ้นมาให้ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องภาวะที่จิตเราตื่นขึ้นมา มีสมาธิที่ถูกต้องขึ้นมา เป็นเรื่องใหญ่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่พวกเราขาดมากที่สุดเลย ฆราวาสทั้งหลายขาดสัมมาสมาธิ ขาดสมาธิที่ถูกต้อง มีสมาธิเคลิ้มๆ สมาธิเห็นโน่นเห็นนี่ อันนั้นไม่ได้เรื่องอะไร ไปทำสมาธิแล้วก็มีสติคอยรู้ทันจิตเอาไว้ แล้วเราจะได้สมาธิที่ถูกต้อง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาๆ ทั้ง 8 ประกอบด้วยสติทั้งสิ้น ขาดสติตัวเดียว สัมมาทั้งหลายหายหมด กลายเป็นมิจฉาหมดเลย ฉะนั้นสติจำเป็น จำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช บ้านจิตสบาย 19 กุมภาพันธ์ 2566

Direct download: 660219.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

อยากเป็นพระโสดาบัน ขั้นแรกเลยจิตต้องตั้งมั่นขึ้นมาก่อน พอจิตตั้งมั่นแล้ว สติระลึกรู้กาย มันจะเห็นกายนี้ถูกรู้ ไม่ใช่เรา จิตตั้งมั่นแล้วสติระลึกรู้เวทนา มันก็เห็นเวทนาถูกรู้ ไม่ใช่เรา จิตตั้งมั่น สติระลึกรู้สังขารทั้งหลาย ความดีชั่วทั้งหลายที่ปรุงขึ้นมา ก็จะเห็นสังขารทั้งหลายไม่ใช่เรา จิตตั้งมั่นแล้วก็ดับ เกิดจิตไม่ตั้งมั่น หลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บางทีมีจิตตั้งมั่น แล้วก็หลงไปเกิดราคะ มีความสุข บางทีจิตตั้งมั่นแล้วก็ดับ หลงไป เกิดโทสะ มีความทุกข์ในใจ บางทีจิตตั้งมั่นอยู่ จิตก็มีความสุขอยู่ทั้งๆ ที่ตั้งมั่น บางทีจิตตั้งมั่นอยู่ แล้วก็เป็นอุเบกขาอยู่ก็มี จิตมันมีหลายชนิด แล้วเราจะเห็น มันทำงานเอง มันถูกรู้ จิตเองก็ถูกรู้ จิตก็ไม่ใช่เราอีก ถ้าเราสามารถเห็นได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วิญญาณคือตัวจิตนั้นเอง ไม่ใช่เรา นั่นล่ะจะได้โสดาบัน เพราะฉะนั้นจะเป็นโสดาบัน ไม่ใช่มานั่งมโน ใส่บาตรพระวันหนึ่งให้ได้ 100 องค์ แล้วจะได้พระโสดาบัน ไม่เกี่ยวเลย หรือฟังเทศน์ทุกวัน ฟังซีดีหลวงพ่อทุกวัน แล้วจะได้โสดาบัน ไม่เกี่ยวเลย อยากได้โสดาบันจริงๆ อันแรกเลย ฝึกให้จิตมันตั้งมั่นขึ้นมาให้ได้ก่อน พอจิตมันตั้งมั่นแล้ว สติระลึกรู้อะไร อันนั้นจะแสดงไตรลักษณ์ให้หมด ไม่มีตัวเราทั้งหมดเลย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 18 กุมภาพันธ์ 2566

Direct download: 660218.mp3
Category:Dhamma Talks -- posted at: 6:00am +07

1 « Previous 1 2 3 4 5 6 7 Next » 66